วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ ความหมาย Public Relations วิธีการต่างๆ ขององค์การ สถาบัน (Institution or Organization) ที่มีการวางแผน ปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี (good relationship)ระหว่างองค์การ สถาบัน กับ กลุ่มประชาชนเป้าหมาย(the public)ทั้งภายใน ภายนอก หน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ และมีการประเมินผล (Evaluation)
ความสำคัญของ PR.สร้างภาพพจน์ / ภาพลักษณ์แก้ไขความเข้าใจผิดรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มจัดส่งสินค้ากระตุ้นความสนใจแก่ผู้ถือหุ้น/ กลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินแก่บริษัทสร้างความนิยมแก่ชุมชนใกล้เคียงเสนอรายงานแก่หน่วยราชการสร้างความนิยมแก่ตัวแทนจำหน่ายสร้างความนิยมในกลุ่ม พนง. ลูกจ้างชี้แจง/ ให้บริการแก่ผู้บริโภคปรับปรุงด้านแรงงานสัมพันธ์ให้บริการสาธารณะเพิ่มพูนมิตรไมตรีต่อบริษัท/ หน่วยงาน
ปัจจัยที่ทำให้ PR. มีความสำคัญช่องว่างการสื่อสารประชากรเพิ่มขึ้นการมีความรับผิดชอบต่อสังคมรัฐบาลมีภารกิจเพิ่มมากขึ้นพัฒนาการของเครื่องมือสื่อสาร เทคโนโลยีมาตรฐานใหม่ทางด้านจริยธรรมอิทธิพลของผู้บริโภค/ บทบาทการคุ้มครองวิทยาการด้านการPR.ก้าวหน้าสมาคมวิชาชีพทางด้าน PR.การยอมรับของหน่วยงาน
กระบวนการPR.
1. มี 4 ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อ PR.
การจัดเก็บข้อมูล
การสำรวจข้อมูลอย่างไม่เป็นทาง
การการสำรวจข้อมูลอย่างเป็นทางการ
2. การวางแผนการPR. มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดเป้าหมายกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
กำหนดจุดเด่นที่จะ PR.
กำหนดสื่อ/เทคนิคที่จะใช้
กำหนดงบประมาณ/ กำลังคนริเริ่มการกระทำ/ กิจกรรมตาม
กำหนดเวลาทดลองนำแผนไปใช้/ ตรวจแผนจัดทำแผนปฏิบัติการ
3. การสื่อสารประชาสัมพันธ์
3.1 องค์ประกอบของการสื่อสาร
3.2 ประเภท/ หลักของการสื่อสาร
3.3 การสื่อสารประชาสัมพันธ์
-Two - way Communication
-Formal/ Informal
-To inform/ educate/ entertain/persuade
-เป็นการสื่อสารที่ควบคุมสื่อเอง/สื่อมวลชน
-มีการจัดกลุ่มเป้าหมาย
4. การประเมินผลงาน PR. มี 7 ขั้นตอน
4.1 การเลือกใช้เหตุผล
4.2 ระบุวัตถุประสงค์
4.3 หามาตรการในการวัดผลประชาสัมพันธ์
4.4 ดำเนินการวัดและรวบรวมข้อมูล
4.5 วิเคราะห์ข้อมูล
4.6 รายงานผล
4.7 นำผลมาเพื่อใช้ในการตัดสินใจเพื่อ PR.
ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์
การโฆษณาสด เป็นลักษณะของการถ่ายทอดสดโดยกระทำภายในห้องส่งของสถานีหรือถ่ายทอดนอกสถานีก็ได้ ผู้โฆษณาจะจัดสถานที่ จัดวางสินค้าให้สวยงามแล้วให้พิธีกรแนะนำสินค้า อาจมีการสาธิตร่วมด้วย
การซ้อนตัวอักษร เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะทางสถานีจะมีเครื่องมือสร้างตัวอักษรซ้อนไปกับภาพที่ออกอากาศในรายการพร้อมๆ กันไปผู้โฆษณาไม่นิยมใช้วิธีนี้ เพราะผู้ชมโทรทัศน์มักสนใจอยู่ที่ตัวรายการ ไม่ค่อยได้ดูข้อความโฆษณาที่ซ้อนไว้ตอนล่างของภาพแต่บางครั้งหากใช้เทคนิคดีๆ สร้างตัวอักษรซ้อนภาพให้น่าสนใจ อาจดึงผู้ชมมาอ่านโฆษณาก็ได
การฉายภาพสไลด์หรือภาพนิ่ง โดยเปิดเทปบันทึกเสียงไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันวิธีนี้ยังมีให้เป็นอยู่บ้างแต่จะพบนานๆ ครั้งเพราะดูไม่เร้าใจ ภาพมักดูแห้งๆ ขาดเสน่ห์ของความเป็นโทรทัศน์ ใช้ภาพยนตร์โฆษณาเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยระยะแรกจะออกอากาศแบบเต็มเรื่อง (Full Story) ซึ่งนิยมใช้ความยาว 60 วินาที หลังจากที่ภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ชมทางบ้านเริ่มจำโฆษณาได้แล้ว ก็จะตัดต่อโฆษณาใหม่ ให้สั้นลงเหลือเพียง 30 วินาทีและ 20 วินาทีตามลำดับ ทั้งนี้เพราะอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์แพงมาก
การซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ลักษณะการซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์จะใช้หน่วยการซื้อขายที่เรียกว่า Spot ความยาวของ Spot โฆษณาแต่ละชิ้นอาจมีตั้งแต่ 15 นาที 20 วินาที 30 วินาที 45 วินาที 1 นาที จนกระทั่งถึง 2 นาที แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มักมีความยาว 20 วินาที สำหรับประเภทของ Spot โฆษณาที่ซื้อขายกันทางโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
Loose Spot คือ Spot โฆษณาที่จะออกอากาศระหว่างช่วงต่อของรายการกล่าวคือ เมื่อรายการหนึ่งจบลง และก่อนจะขึ้นรายการต่อไป จะมีการโฆษณาเข้ามาแทรก เรียกโฆษณาในช่วงนี้ว่า Loose Spot
In Program spot คือ Spot โฆษณาที่ออกอากาศอยู่ในรายการใดรายการหนึ่ง กล่าวคือ ในแต่ละรายการที่ออกอากาศทางโทรทัศน์นั้น มักจะมีการหยุดเป็นช่วงๆ ในระหว่างออกอากาศเพื่อโฆษณาสินค้า อาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว การโฆษณาในช่วงนี้เรียกว่า In Program spot ซึ่งเจ้าของสินค้าอาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว หรือจะเฉลี่ยเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ ร่วมกับเจ้าของสินค้ารายการอื่นๆ ก็ได้ โดยปกติอัตราค่าโฆษณาสำหรับ In Program spot จะแพงกว่า Loose Spot ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันเสมอ ทั้งนี้เพราะมีโอกาสถูกพบเห็นได้มากกว่า Loose Spot ซึ่งผู้ชมอาจเปลี่ยนช่องหรือหันไปทำกิจกรรมอื่นเมื่อรายการจบลง
การคิดอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งจะคิดอัตราค่าโฆษณาเป็น Spot ความยาว 1 นาที ต่อการโฆษณา 1 ครั้ง เป็นมาตรฐานไว้ เช่น สมมติว่าคิด Spot ละ 300,000 บาท และผู้โฆษณาต้องการออกอากาศโฆษณาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทางสถานีเป็นเงิน = 150,000 บาท x 3 ครั้ง = 450,000 บาท (อัตราค่าโฆษณา Spot ละ 300,000 บาท ที่ทางสถานีกำหนดไว้ความยาวครั้งละ 30 วินาทีเท่านั้น จึงเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวในแต่ละครั้ง คือ 150,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง)
อัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ของแต่ละสถานีจะต้องไว้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนและความนิยมของผู้ชมรายการ และช่วงเวลาที่ออกอากาศ โดยปกติช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด (A-time) จะมีอัตราค่าโฆษณาแพงกว่าช่วงเวลาอื่นๆ จากการสำรวจจำนวนผู้ชมโทรทัศน์ในประเทศไทยพบว่า เวลาที่มีคนดูมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 20.30-22.00 ซึ่งเป็นช่วงรายการละครไทยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ ช่วง 19.30-20.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเสนอข่าวประจำวัน
ช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดนั้นมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามความถนัด คือ บางครั้งเรียกว่า A-time หรือ Peak timeแต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุดคือ Prime Time
ตัวอย่างโฆษณาผ่างทางโทรทัศน์
ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์
วัตถุประสงค์และหน้าที่ของการโฆษณา
การโฆษณาเพื่อชักจูงใจ (Persuasive Advertising)
โฆษณา
ป้ายโฆษณาใน ชินจุกุ ประเทศญี่ปุ่น
โฆษณา เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการที่ต้องการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักสินค้าหรือการบริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันการโฆษณาทำได้ตามสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางหนึ่ง
การโฆษณาชวนเชื่อ
การโฆษณาชวนเชื่อคือการสื่อสารกับบุคคลหนึ่งเพื่อต้องการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น โน้มน้าวให้เห็นด้วยกับทางเลือกที่เราเสนอ จนเกิดการตัดสินใจตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่สนใจในความถูกต้องหรือข้อเท็จจริง นำเสนอเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้การโน้มน้าวประสบผลสำเร็จ
การโฆษณา บนอินเทอร์เน็ต
ในโลกปัจจุบัน การโฆษณา ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเกือบทุกภาคธุรกิจ และราคาค่าโฆษณาก็ไม่สูงมากนัก คือการโฆษณาผ่าน สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือก เช่นในรูปแบบแบนเนอร์ติดตามเว็บไซต์ หรือตาม Search engine ต่างๆ เช่น Google เป็นต้น เพราะในสภาพสังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เริ่มมีเวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มากกว่าการอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย
ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี
ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง
ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519)
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศใน
ระบบสี
- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง
5 โดยออกอากาศในระบบสี
ทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน
ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521)
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน
ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549)
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน