วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น

การประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ ความหมาย Public Relations วิธีการต่างๆ ขององค์การ สถาบัน (Institution or Organization) ที่มีการวางแผน ปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี (good relationship)ระหว่างองค์การ สถาบัน กับ กลุ่มประชาชนเป้าหมาย(the public)ทั้งภายใน ภายนอก หน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ และมีการประเมินผล (Evaluation)

ความสำคัญของ PR.สร้างภาพพจน์ / ภาพลักษณ์แก้ไขความเข้าใจผิดรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มจัดส่งสินค้ากระตุ้นความสนใจแก่ผู้ถือหุ้น/ กลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินแก่บริษัทสร้างความนิยมแก่ชุมชนใกล้เคียงเสนอรายงานแก่หน่วยราชการสร้างความนิยมแก่ตัวแทนจำหน่ายสร้างความนิยมในกลุ่ม พนง. ลูกจ้างชี้แจง/ ให้บริการแก่ผู้บริโภคปรับปรุงด้านแรงงานสัมพันธ์ให้บริการสาธารณะเพิ่มพูนมิตรไมตรีต่อบริษัท/ หน่วยงาน

ปัจจัยที่ทำให้ PR. มีความสำคัญช่องว่างการสื่อสารประชากรเพิ่มขึ้นการมีความรับผิดชอบต่อสังคมรัฐบาลมีภารกิจเพิ่มมากขึ้นพัฒนาการของเครื่องมือสื่อสาร เทคโนโลยีมาตรฐานใหม่ทางด้านจริยธรรมอิทธิพลของผู้บริโภค/ บทบาทการคุ้มครองวิทยาการด้านการPR.ก้าวหน้าสมาคมวิชาชีพทางด้าน PR.การยอมรับของหน่วยงาน

กระบวนการPR.

1. มี 4 ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อ PR.
การจัดเก็บข้อมูล
การสำรวจข้อมูลอย่างไม่เป็นทาง
การการสำรวจข้อมูลอย่างเป็นทางการ

2. การวางแผนการPR. มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดเป้าหมายกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
กำหนดจุดเด่นที่จะ PR.
กำหนดสื่อ/เทคนิคที่จะใช้
กำหนดงบประมาณ/ กำลังคนริเริ่มการกระทำ/ กิจกรรมตาม
กำหนดเวลาทดลองนำแผนไปใช้/ ตรวจแผนจัดทำแผนปฏิบัติการ

3. การสื่อสารประชาสัมพันธ์
3.1 องค์ประกอบของการสื่อสาร
3.2 ประเภท/ หลักของการสื่อสาร
3.3 การสื่อสารประชาสัมพันธ์
-Two - way Communication
-Formal/ Informal
-To inform/ educate/ entertain/persuade
-เป็นการสื่อสารที่ควบคุมสื่อเอง/สื่อมวลชน
-มีการจัดกลุ่มเป้าหมาย

4. การประเมินผลงาน PR. มี 7 ขั้นตอน
4.1 การเลือกใช้เหตุผล
4.2 ระบุวัตถุประสงค์
4.3 หามาตรการในการวัดผลประชาสัมพันธ์
4.4 ดำเนินการวัดและรวบรวมข้อมูล
4.5 วิเคราะห์ข้อมูล
4.6 รายงานผล
4.7 นำผลมาเพื่อใช้ในการตัดสินใจเพื่อ PR.

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์

การโฆษณาทางโทรทัศน์ มีดังนี้

การโฆษณาสด เป็นลักษณะของการถ่ายทอดสดโดยกระทำภายในห้องส่งของสถานีหรือถ่ายทอดนอกสถานีก็ได้ ผู้โฆษณาจะจัดสถานที่ จัดวางสินค้าให้สวยงามแล้วให้พิธีกรแนะนำสินค้า อาจมีการสาธิตร่วมด้วย

การซ้อนตัวอักษร เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะทางสถานีจะมีเครื่องมือสร้างตัวอักษรซ้อนไปกับภาพที่ออกอากาศในรายการพร้อมๆ กันไปผู้โฆษณาไม่นิยมใช้วิธีนี้ เพราะผู้ชมโทรทัศน์มักสนใจอยู่ที่ตัวรายการ ไม่ค่อยได้ดูข้อความโฆษณาที่ซ้อนไว้ตอนล่างของภาพแต่บางครั้งหากใช้เทคนิคดีๆ สร้างตัวอักษรซ้อนภาพให้น่าสนใจ อาจดึงผู้ชมมาอ่านโฆษณาก็ได

การฉายภาพสไลด์หรือภาพนิ่ง โดยเปิดเทปบันทึกเสียงไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันวิธีนี้ยังมีให้เป็นอยู่บ้างแต่จะพบนานๆ ครั้งเพราะดูไม่เร้าใจ ภาพมักดูแห้งๆ ขาดเสน่ห์ของความเป็นโทรทัศน์ ใช้ภาพยนตร์โฆษณาเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยระยะแรกจะออกอากาศแบบเต็มเรื่อง (Full Story) ซึ่งนิยมใช้ความยาว 60 วินาที หลังจากที่ภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ชมทางบ้านเริ่มจำโฆษณาได้แล้ว ก็จะตัดต่อโฆษณาใหม่ ให้สั้นลงเหลือเพียง 30 วินาทีและ 20 วินาทีตามลำดับ ทั้งนี้เพราะอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์แพงมาก

การซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ลักษณะการซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์จะใช้หน่วยการซื้อขายที่เรียกว่า Spot ความยาวของ Spot โฆษณาแต่ละชิ้นอาจมีตั้งแต่ 15 นาที 20 วินาที 30 วินาที 45 วินาที 1 นาที จนกระทั่งถึง 2 นาที แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มักมีความยาว 20 วินาที สำหรับประเภทของ Spot โฆษณาที่ซื้อขายกันทางโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

Loose Spot คือ Spot โฆษณาที่จะออกอากาศระหว่างช่วงต่อของรายการกล่าวคือ เมื่อรายการหนึ่งจบลง และก่อนจะขึ้นรายการต่อไป จะมีการโฆษณาเข้ามาแทรก เรียกโฆษณาในช่วงนี้ว่า Loose Spot

In Program spot คือ Spot โฆษณาที่ออกอากาศอยู่ในรายการใดรายการหนึ่ง กล่าวคือ ในแต่ละรายการที่ออกอากาศทางโทรทัศน์นั้น มักจะมีการหยุดเป็นช่วงๆ ในระหว่างออกอากาศเพื่อโฆษณาสินค้า อาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว การโฆษณาในช่วงนี้เรียกว่า In Program spot ซึ่งเจ้าของสินค้าอาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว หรือจะเฉลี่ยเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ ร่วมกับเจ้าของสินค้ารายการอื่นๆ ก็ได้ โดยปกติอัตราค่าโฆษณาสำหรับ In Program spot จะแพงกว่า Loose Spot ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันเสมอ ทั้งนี้เพราะมีโอกาสถูกพบเห็นได้มากกว่า Loose Spot ซึ่งผู้ชมอาจเปลี่ยนช่องหรือหันไปทำกิจกรรมอื่นเมื่อรายการจบลง

การคิดอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งจะคิดอัตราค่าโฆษณาเป็น Spot ความยาว 1 นาที ต่อการโฆษณา 1 ครั้ง เป็นมาตรฐานไว้ เช่น สมมติว่าคิด Spot ละ 300,000 บาท และผู้โฆษณาต้องการออกอากาศโฆษณาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทางสถานีเป็นเงิน = 150,000 บาท x 3 ครั้ง = 450,000 บาท (อัตราค่าโฆษณา Spot ละ 300,000 บาท ที่ทางสถานีกำหนดไว้ความยาวครั้งละ 30 วินาทีเท่านั้น จึงเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวในแต่ละครั้ง คือ 150,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง)

อัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ของแต่ละสถานีจะต้องไว้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนและความนิยมของผู้ชมรายการ และช่วงเวลาที่ออกอากาศ โดยปกติช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด (A-time) จะมีอัตราค่าโฆษณาแพงกว่าช่วงเวลาอื่นๆ จากการสำรวจจำนวนผู้ชมโทรทัศน์ในประเทศไทยพบว่า เวลาที่มีคนดูมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 20.30-22.00 ซึ่งเป็นช่วงรายการละครไทยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ ช่วง 19.30-20.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเสนอข่าวประจำวัน

ช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดนั้นมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามความถนัด คือ บางครั้งเรียกว่า A-time หรือ Peak timeแต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุดคือ Prime Time

ตัวอย่างโฆษณาผ่างทางโทรทัศน์

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์
โฆษณาทางหน้านิตยสาร Magazine Advertising



นิตยสาร คือ สิ่งตีพิมพ์ที่เป็นหนังสือออกมาเป็นคราว ๆ เป็นรายคาบ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 3 เดือนรวบรวมเนื้อหาประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน จัดทำโดยผู้ประกอบการ มุ่งหวังผลกำไรทางการค้า เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับความบันเทิง

แผ่นพับFolder

มีลักษณะคล้ายแผ่นปลิว แต่มีขนาดใหญ่กว่า (เมื่อคลี่ออกมา) เนื่องจากถูกออกแบบให้บรรจุรายละเอียด ได้มากกว่าใบปลิว มีได้ตั้งแต่ 2-5 ทบ หรือมากกว่านั้น มีลักษณะเป็นใบ แล้วทับทบไปมา พับได้มากกว่า หนึ่งครั้งขึ้นไป

เอกสารเย็บเล่ม Brochure

เป็นเอกสารเช่นเดียวกับแผ่นพับแต่เย็บรวมเล่มเป็นเล่มบาง ๆ เย็บกลางคล้ายหนังสือ) มีขนาดและรูปแบบต่าง ๆ กันไปแล้วแต่ออกแบบ บ่งบอกถึงรายละเอียดลักษณะ รูปแบบ ชนิด เนื้อหา สรรพคุณของสินค้าหรือบริการได้มากกว่าใบปลิวและแผ่นพับ

แคตาล็อกCatalog

เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เอกสารโฆษณานี้จะมีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุด ในบรรดาเอกสารโฆษณาอื่นๆ ส่วนมากแคตาล็อกจะพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือเป็นแฟ้ม ซึ่งภายในจะแทรกใบแทรกขนาดเท่าแฟ้มไว้ก็ได้ แคตาล็อกแบบแฟ้มนี้กำลังเป็นที่นิยมมาก เพราะมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนใบแทรก หากสินค้านั้นหมด หรือแก้ไขใหม่ สามารถพิมพ์เฉพาะใบได้ ไม่ต้องพิมพ์แก้ไขใหม่ทั้งหมดแบบแคตาล็อก

จดหมายข่าวหรือจดหมายขายNewsletter


เป็นจดหมายที่ผู้โฆษณาส่งไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อชักชวนให้ซื้อสินค้า โดยในจดหมายมักใช้ข้อความจูงใจต่างๆเช่น "ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ทางบริษัทได้พิจารณาแล้ว ว่าเป็นผู้ที่ เหมาะสม…" หรือใช้สิ่งล่อใจ เช่น การให้ส่วนลด การให้ของแถม มีโบนัส คูปอง หรือใช้สิทธิพิเศษอื่นๆการใช้จดหมายในกรโฆษณาเป็นวิธีที่ได้ผลพอสมควร ทั้งนี้เพราะจดหมายจ่าหน้าซอง ถึงตัวลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ ทำให้ผู้รับเกิดความรู้สึกเป็นกันเอง และสนใจที่จะอ่านข้อความโฆษณานั้น

สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์Direct Mail


คือ สื่อโฆษณาที่อาศัยการสื่อทางไปรษณีย์ ดำเนินการเป็นการเคลื่อนไหวทางการตลาดรูปแบบใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายส่งข่าวสารข้อมูลที่ผู้โฆษณาต้องการสื่อให้แก่กลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่ม

แผ่นภาพโฆษณาPoster

เป็นแผ่นภาพโฆษณาแผ่นเดียวขนาดใหญ่ต่างๆ กันไป ใช้ติดตามภายในนอกอาคาร สำนักงาน ร้านค้า สถานที่สาธารณะชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร สินค้าการบริการ การแสดง หรือรายการพิเศษ ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ขนาดของแผ่นภาพโฆษณามีตั้งแต่ขนาดเล็กที่ต้องอ่านอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ที่พิมพ์ข้อความและภาพนำมาต่อกันเป็นแผ่นภาพโฆษณาขนาดใหญ่ สามารถอ่านเห็นได้ในระยะไกล โปสเตอร์เป็นสิ่งโฆษณาที่มีรูปแบบเด่นชัด ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20

แผ่นภาพโฆษณาแขวนMobile

มีลักษณะไม่แน่นอนตายตัว แตกต่างกันไปตามการออกแบบใช้ติดประดับตามหน้าร้าน-ห้างสรรพสินค้า โดยแขวนเป็นแถวเป็นแนวหรือทิ้งเป็นสายลงมาจากเพดานจรดพื้นเป็นการโฆษณาของรายงานพิเศษ เช่น ช่วงเทศการปีใหม่ ช่วงลด แลก แจกแถม แนะนำสินค้า การให้ข่าวสาร ของสินค้าหรือบริการนั้นแผ่นภาพแขวนมีหลายลักษณะแล้วแต่ผู้ออกแบบและเจ้าของสินค้า มีเพื่อนเป็นพ็อพอัพ ได้ตัดตามรูป หมุน ดึง แล้วแต่เทคนิค ของแต่ละแนวความคิด

วัตถุประสงค์และหน้าที่ของการโฆษณา


วัตถุประสงค์ของการโฆษณา

ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ สามารถแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการโฆษณาได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1) เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการใหม่ให้กลุ่มลูกค้าได้รู้จัก

2) เพื่อสนับสนุนแนะนำทางให้กับพนักงานเดินตลาดของกิจการ กล่าวคือ เมื่อมีการโฆษณาชื่อสินค้าชื่อกิจการออกไปก่อน ทำให้คนทั่วไปรวมทั้งร้านค้ารู้จักสินค้านั้น เมื่อมีพนักงานเดินตลาดของกิจการออกไปติดต่อ ก็สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าได้รู้จักสินค้านั้นก่อนแล้ว

3) เพื่อให้ผู้ซื้อยอมรับคุณภาพของสินค้า ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อว่า ถ้าสินค้านั้นไม่มีคุณภาพก็คงไม่กล้าโฆษณาออกไป

4) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้สินค้า

5) เพื่อตอกย้ำความทรงจำของลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้านั้นซ้ำอีก

6) เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเท่ากับเป็นการโฆษณาให้ หรือช่วยเพิ่มยอดขายให้กับตัวแทนขาย
7) เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีของกิจการ ในความรู้สึกของลูกค้าทั่วไป


การโฆษณาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ (Comprehensive Advertising)

การให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ

1. การโฆษณาให้ความรู้ เกี่ยวกับประเภทของสินค้าและบริการ เช่น สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรม

2. การโฆษณาให้ความรู้ เกี่ยวกับความสำคัญของสินค้าและบริการโดยเฉพาะสินค้าที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ เช่น อาหาร ยารักษาโรค

3. การโฆษณาให้ความรู้ เกี่ยวกับประโยชน์ของสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณาคุณสมบัติของยารักษาโรค

4. การโฆษณาให้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดใหม่ของการโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าและบริการโดยการใช้ชื่อโฆษณาแบบใหม่ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการทำให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการโฆษณา

5. การโฆษณาให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตสินค้า นับตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป


การโฆษณาเพื่อให้ข่าวสาร (Informative Advertising)

ข่าวสารของการโฆษณาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคมีหลายประเภท คือ

1. ข่าวสารการตลาด เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเหตุการณ์ของการตลาด

2. ข่าวสารการลงทุน เป็นการให้ข้อมูลทางด้านการลงทุนเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
3. ข่าวสารสินค้าและบริการใหม่ เป็นการบอกกล่าวและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าใหม่ หรือบริการใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสพิจารณาเลือกซื้อ

4. ข่าวสารราคาสินค้าและบริการ เป็นการใช้ข้อมูลด้านราคาเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ และนำไปสู่การซื้อสินค้าและบริการ

5. ข่าวสารการส่งเสริมการขาย เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย เช่น การตลาด การแจกการแถม ของกำนัล เป็นต้น


การโฆษณาเพื่อชักจูงใจ (Persuasive Advertising)

การโฆษณาเพื่อชักจูงใจนั้นจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้บริโภค ทำให้เกิดการคล้อยตามที่จะซื้อสินค้าและบริการ สามารถใช้หลักการดังนี้ คือ

1. จูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ
- การโฆษณานี้ ต้องชี้แนะให้ผู้บริโภคเกิดความประสงค ์ในการใช้สินค้าและบริการ เมื่อผู้บริโภคใช้สินค้าและบริการแล้ว จะมีความสะดวกสบาย

2. จูงใจให้เกิดความประทับใจในสินค้าและบริการ
- การโฆษณาต้องสร้างความประทับใจกับผู้บริโภค โดยใช้ศิลปะของการสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความอยากรู้ อยากเห็น เร้าอารมณ์ ก่อให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม และเกิดความประทับใจในคุณภาพและบริการ

3. จูงใจให้เกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการ
- การโฆษณานี้ต้องสร้างภาพพจน์ของสินค้าและบริการ ให้สอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยเอาจุดเด่นของสินค้าและบริการมาสร้างสรรค์งานโฆษณา

4. จูงใจให้เกิดความภูมิใจในสินค้าและบริการ
- การโฆษณาในลักษณะนี้มักนำเอาบุคคลสำคัญ และเป็นที่รู้จักมาเป็นแบบในโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปเห็นว่า บุคคลสำคัญยังใช้สินค้าและบริการชนิดเดียวกับตน จึงเกิดความภาคภูมิใจเมื่อใช้สินค้าและบริการนั้น


หน้าที่ของการโฆษณา

การโฆษณาทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

1. หน้าที่การตลาด (Marketing Function) กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในส่วนประสมทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ทั้งสี่เครื่องมือนี้ ใช้ร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า อันจะนำไปสู่การสร้างยอดขายและกำไรในที่สุด

2. หน้าที่การติดต่อสื่อสาร (Communication Function) การโฆษณานี้ถือเป็นการติดต่อข่าวสาร เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการ หรือเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย

3. หน้าที่ให้ความรู้ (Education Function) การโฆษณาถือเป็นการให้ความรู้เกี่ยวการใช้ผลิตภัณฑ์ และทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

4. หน้าที่ด้านเศรษฐกิจ (Economic Function) จากการที่บุคคลรู้จักผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องมาจากการโฆษณาซึ่งทำให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์ เท่ากับการโฆษณาเป็นตัวสร้างยอดขายและกำไรให้กับธุรกิจดำเนินไปด้วยดี ทำให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุน เป็นผลทำให้เกิดการสร้างงาน อันเป็นผลทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น

5. หน้าที่ด้านสังคม (Social Function) การโฆษณาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชน ในประเทศใดประเทศหนึ่งและทั่วโลก การเผยแพร่ข่าวสารการโฆษณาจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม การโฆษณาไม่ใช่มุ่งแต่ขายสินค้าเท่านั้น แต่มีโฆษณาอีกมากที่ต้องคำนึงถึงภาระความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อสังคม และมวลมนุษย์

โฆษณา

โฆษณา

ป้ายโฆษณาใน ชินจุกุ ประเทศญี่ปุ่น

โฆษณา เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการที่ต้องการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักสินค้าหรือการบริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันการโฆษณาทำได้ตามสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางหนึ่ง

การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อคือการสื่อสารกับบุคคลหนึ่งเพื่อต้องการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น โน้มน้าวให้เห็นด้วยกับทางเลือกที่เราเสนอ จนเกิดการตัดสินใจตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่สนใจในความถูกต้องหรือข้อเท็จจริง นำเสนอเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้การโน้มน้าวประสบผลสำเร็จ

การโฆษณา บนอินเทอร์เน็ต

ในโลกปัจจุบัน การโฆษณา ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเกือบทุกภาคธุรกิจ และราคาค่าโฆษณาก็ไม่สูงมากนัก คือการโฆษณาผ่าน สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือก เช่นในรูปแบบแบนเนอร์ติดตามเว็บไซต์ หรือตาม Search engine ต่างๆ เช่น Google เป็นต้น เพราะในสภาพสังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เริ่มมีเวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มากกว่าการอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตัวอย่างรายการโทรทัศน์

ตัวอย่างรายการโทรทัศน์
รายการสาระแน

ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย


ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย

ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญที่สามารถแบ่งได้ตามทศวรรษต่างๆ ดังนี้

ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี

ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง

ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519)
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศใน
ระบบสี
- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง
5 โดยออกอากาศในระบบสี
ทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน

ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521)
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน

ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ

ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549)
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน