วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น

การประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ ความหมาย Public Relations วิธีการต่างๆ ขององค์การ สถาบัน (Institution or Organization) ที่มีการวางแผน ปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี (good relationship)ระหว่างองค์การ สถาบัน กับ กลุ่มประชาชนเป้าหมาย(the public)ทั้งภายใน ภายนอก หน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ และมีการประเมินผล (Evaluation)

ความสำคัญของ PR.สร้างภาพพจน์ / ภาพลักษณ์แก้ไขความเข้าใจผิดรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มจัดส่งสินค้ากระตุ้นความสนใจแก่ผู้ถือหุ้น/ กลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินแก่บริษัทสร้างความนิยมแก่ชุมชนใกล้เคียงเสนอรายงานแก่หน่วยราชการสร้างความนิยมแก่ตัวแทนจำหน่ายสร้างความนิยมในกลุ่ม พนง. ลูกจ้างชี้แจง/ ให้บริการแก่ผู้บริโภคปรับปรุงด้านแรงงานสัมพันธ์ให้บริการสาธารณะเพิ่มพูนมิตรไมตรีต่อบริษัท/ หน่วยงาน

ปัจจัยที่ทำให้ PR. มีความสำคัญช่องว่างการสื่อสารประชากรเพิ่มขึ้นการมีความรับผิดชอบต่อสังคมรัฐบาลมีภารกิจเพิ่มมากขึ้นพัฒนาการของเครื่องมือสื่อสาร เทคโนโลยีมาตรฐานใหม่ทางด้านจริยธรรมอิทธิพลของผู้บริโภค/ บทบาทการคุ้มครองวิทยาการด้านการPR.ก้าวหน้าสมาคมวิชาชีพทางด้าน PR.การยอมรับของหน่วยงาน

กระบวนการPR.

1. มี 4 ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อ PR.
การจัดเก็บข้อมูล
การสำรวจข้อมูลอย่างไม่เป็นทาง
การการสำรวจข้อมูลอย่างเป็นทางการ

2. การวางแผนการPR. มีขั้นตอนดังนี้
กำหนดเป้าหมายกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
กำหนดจุดเด่นที่จะ PR.
กำหนดสื่อ/เทคนิคที่จะใช้
กำหนดงบประมาณ/ กำลังคนริเริ่มการกระทำ/ กิจกรรมตาม
กำหนดเวลาทดลองนำแผนไปใช้/ ตรวจแผนจัดทำแผนปฏิบัติการ

3. การสื่อสารประชาสัมพันธ์
3.1 องค์ประกอบของการสื่อสาร
3.2 ประเภท/ หลักของการสื่อสาร
3.3 การสื่อสารประชาสัมพันธ์
-Two - way Communication
-Formal/ Informal
-To inform/ educate/ entertain/persuade
-เป็นการสื่อสารที่ควบคุมสื่อเอง/สื่อมวลชน
-มีการจัดกลุ่มเป้าหมาย

4. การประเมินผลงาน PR. มี 7 ขั้นตอน
4.1 การเลือกใช้เหตุผล
4.2 ระบุวัตถุประสงค์
4.3 หามาตรการในการวัดผลประชาสัมพันธ์
4.4 ดำเนินการวัดและรวบรวมข้อมูล
4.5 วิเคราะห์ข้อมูล
4.6 รายงานผล
4.7 นำผลมาเพื่อใช้ในการตัดสินใจเพื่อ PR.

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์

การโฆษณาทางโทรทัศน์ มีดังนี้

การโฆษณาสด เป็นลักษณะของการถ่ายทอดสดโดยกระทำภายในห้องส่งของสถานีหรือถ่ายทอดนอกสถานีก็ได้ ผู้โฆษณาจะจัดสถานที่ จัดวางสินค้าให้สวยงามแล้วให้พิธีกรแนะนำสินค้า อาจมีการสาธิตร่วมด้วย

การซ้อนตัวอักษร เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะทางสถานีจะมีเครื่องมือสร้างตัวอักษรซ้อนไปกับภาพที่ออกอากาศในรายการพร้อมๆ กันไปผู้โฆษณาไม่นิยมใช้วิธีนี้ เพราะผู้ชมโทรทัศน์มักสนใจอยู่ที่ตัวรายการ ไม่ค่อยได้ดูข้อความโฆษณาที่ซ้อนไว้ตอนล่างของภาพแต่บางครั้งหากใช้เทคนิคดีๆ สร้างตัวอักษรซ้อนภาพให้น่าสนใจ อาจดึงผู้ชมมาอ่านโฆษณาก็ได

การฉายภาพสไลด์หรือภาพนิ่ง โดยเปิดเทปบันทึกเสียงไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันวิธีนี้ยังมีให้เป็นอยู่บ้างแต่จะพบนานๆ ครั้งเพราะดูไม่เร้าใจ ภาพมักดูแห้งๆ ขาดเสน่ห์ของความเป็นโทรทัศน์ ใช้ภาพยนตร์โฆษณาเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยระยะแรกจะออกอากาศแบบเต็มเรื่อง (Full Story) ซึ่งนิยมใช้ความยาว 60 วินาที หลังจากที่ภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ชมทางบ้านเริ่มจำโฆษณาได้แล้ว ก็จะตัดต่อโฆษณาใหม่ ให้สั้นลงเหลือเพียง 30 วินาทีและ 20 วินาทีตามลำดับ ทั้งนี้เพราะอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์แพงมาก

การซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ลักษณะการซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์จะใช้หน่วยการซื้อขายที่เรียกว่า Spot ความยาวของ Spot โฆษณาแต่ละชิ้นอาจมีตั้งแต่ 15 นาที 20 วินาที 30 วินาที 45 วินาที 1 นาที จนกระทั่งถึง 2 นาที แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มักมีความยาว 20 วินาที สำหรับประเภทของ Spot โฆษณาที่ซื้อขายกันทางโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

Loose Spot คือ Spot โฆษณาที่จะออกอากาศระหว่างช่วงต่อของรายการกล่าวคือ เมื่อรายการหนึ่งจบลง และก่อนจะขึ้นรายการต่อไป จะมีการโฆษณาเข้ามาแทรก เรียกโฆษณาในช่วงนี้ว่า Loose Spot

In Program spot คือ Spot โฆษณาที่ออกอากาศอยู่ในรายการใดรายการหนึ่ง กล่าวคือ ในแต่ละรายการที่ออกอากาศทางโทรทัศน์นั้น มักจะมีการหยุดเป็นช่วงๆ ในระหว่างออกอากาศเพื่อโฆษณาสินค้า อาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว การโฆษณาในช่วงนี้เรียกว่า In Program spot ซึ่งเจ้าของสินค้าอาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว หรือจะเฉลี่ยเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ ร่วมกับเจ้าของสินค้ารายการอื่นๆ ก็ได้ โดยปกติอัตราค่าโฆษณาสำหรับ In Program spot จะแพงกว่า Loose Spot ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันเสมอ ทั้งนี้เพราะมีโอกาสถูกพบเห็นได้มากกว่า Loose Spot ซึ่งผู้ชมอาจเปลี่ยนช่องหรือหันไปทำกิจกรรมอื่นเมื่อรายการจบลง

การคิดอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งจะคิดอัตราค่าโฆษณาเป็น Spot ความยาว 1 นาที ต่อการโฆษณา 1 ครั้ง เป็นมาตรฐานไว้ เช่น สมมติว่าคิด Spot ละ 300,000 บาท และผู้โฆษณาต้องการออกอากาศโฆษณาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทางสถานีเป็นเงิน = 150,000 บาท x 3 ครั้ง = 450,000 บาท (อัตราค่าโฆษณา Spot ละ 300,000 บาท ที่ทางสถานีกำหนดไว้ความยาวครั้งละ 30 วินาทีเท่านั้น จึงเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวในแต่ละครั้ง คือ 150,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง)

อัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ของแต่ละสถานีจะต้องไว้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนและความนิยมของผู้ชมรายการ และช่วงเวลาที่ออกอากาศ โดยปกติช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด (A-time) จะมีอัตราค่าโฆษณาแพงกว่าช่วงเวลาอื่นๆ จากการสำรวจจำนวนผู้ชมโทรทัศน์ในประเทศไทยพบว่า เวลาที่มีคนดูมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 20.30-22.00 ซึ่งเป็นช่วงรายการละครไทยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ ช่วง 19.30-20.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเสนอข่าวประจำวัน

ช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดนั้นมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามความถนัด คือ บางครั้งเรียกว่า A-time หรือ Peak timeแต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุดคือ Prime Time

ตัวอย่างโฆษณาผ่างทางโทรทัศน์

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์
โฆษณาทางหน้านิตยสาร Magazine Advertising



นิตยสาร คือ สิ่งตีพิมพ์ที่เป็นหนังสือออกมาเป็นคราว ๆ เป็นรายคาบ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 3 เดือนรวบรวมเนื้อหาประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน จัดทำโดยผู้ประกอบการ มุ่งหวังผลกำไรทางการค้า เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับความบันเทิง

แผ่นพับFolder

มีลักษณะคล้ายแผ่นปลิว แต่มีขนาดใหญ่กว่า (เมื่อคลี่ออกมา) เนื่องจากถูกออกแบบให้บรรจุรายละเอียด ได้มากกว่าใบปลิว มีได้ตั้งแต่ 2-5 ทบ หรือมากกว่านั้น มีลักษณะเป็นใบ แล้วทับทบไปมา พับได้มากกว่า หนึ่งครั้งขึ้นไป

เอกสารเย็บเล่ม Brochure

เป็นเอกสารเช่นเดียวกับแผ่นพับแต่เย็บรวมเล่มเป็นเล่มบาง ๆ เย็บกลางคล้ายหนังสือ) มีขนาดและรูปแบบต่าง ๆ กันไปแล้วแต่ออกแบบ บ่งบอกถึงรายละเอียดลักษณะ รูปแบบ ชนิด เนื้อหา สรรพคุณของสินค้าหรือบริการได้มากกว่าใบปลิวและแผ่นพับ

แคตาล็อกCatalog

เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เอกสารโฆษณานี้จะมีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุด ในบรรดาเอกสารโฆษณาอื่นๆ ส่วนมากแคตาล็อกจะพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือเป็นแฟ้ม ซึ่งภายในจะแทรกใบแทรกขนาดเท่าแฟ้มไว้ก็ได้ แคตาล็อกแบบแฟ้มนี้กำลังเป็นที่นิยมมาก เพราะมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนใบแทรก หากสินค้านั้นหมด หรือแก้ไขใหม่ สามารถพิมพ์เฉพาะใบได้ ไม่ต้องพิมพ์แก้ไขใหม่ทั้งหมดแบบแคตาล็อก

จดหมายข่าวหรือจดหมายขายNewsletter


เป็นจดหมายที่ผู้โฆษณาส่งไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อชักชวนให้ซื้อสินค้า โดยในจดหมายมักใช้ข้อความจูงใจต่างๆเช่น "ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ทางบริษัทได้พิจารณาแล้ว ว่าเป็นผู้ที่ เหมาะสม…" หรือใช้สิ่งล่อใจ เช่น การให้ส่วนลด การให้ของแถม มีโบนัส คูปอง หรือใช้สิทธิพิเศษอื่นๆการใช้จดหมายในกรโฆษณาเป็นวิธีที่ได้ผลพอสมควร ทั้งนี้เพราะจดหมายจ่าหน้าซอง ถึงตัวลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ ทำให้ผู้รับเกิดความรู้สึกเป็นกันเอง และสนใจที่จะอ่านข้อความโฆษณานั้น

สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์Direct Mail


คือ สื่อโฆษณาที่อาศัยการสื่อทางไปรษณีย์ ดำเนินการเป็นการเคลื่อนไหวทางการตลาดรูปแบบใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายส่งข่าวสารข้อมูลที่ผู้โฆษณาต้องการสื่อให้แก่กลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่ม

แผ่นภาพโฆษณาPoster

เป็นแผ่นภาพโฆษณาแผ่นเดียวขนาดใหญ่ต่างๆ กันไป ใช้ติดตามภายในนอกอาคาร สำนักงาน ร้านค้า สถานที่สาธารณะชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร สินค้าการบริการ การแสดง หรือรายการพิเศษ ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ขนาดของแผ่นภาพโฆษณามีตั้งแต่ขนาดเล็กที่ต้องอ่านอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ที่พิมพ์ข้อความและภาพนำมาต่อกันเป็นแผ่นภาพโฆษณาขนาดใหญ่ สามารถอ่านเห็นได้ในระยะไกล โปสเตอร์เป็นสิ่งโฆษณาที่มีรูปแบบเด่นชัด ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20

แผ่นภาพโฆษณาแขวนMobile

มีลักษณะไม่แน่นอนตายตัว แตกต่างกันไปตามการออกแบบใช้ติดประดับตามหน้าร้าน-ห้างสรรพสินค้า โดยแขวนเป็นแถวเป็นแนวหรือทิ้งเป็นสายลงมาจากเพดานจรดพื้นเป็นการโฆษณาของรายงานพิเศษ เช่น ช่วงเทศการปีใหม่ ช่วงลด แลก แจกแถม แนะนำสินค้า การให้ข่าวสาร ของสินค้าหรือบริการนั้นแผ่นภาพแขวนมีหลายลักษณะแล้วแต่ผู้ออกแบบและเจ้าของสินค้า มีเพื่อนเป็นพ็อพอัพ ได้ตัดตามรูป หมุน ดึง แล้วแต่เทคนิค ของแต่ละแนวความคิด

วัตถุประสงค์และหน้าที่ของการโฆษณา


วัตถุประสงค์ของการโฆษณา

ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ สามารถแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการโฆษณาได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1) เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการใหม่ให้กลุ่มลูกค้าได้รู้จัก

2) เพื่อสนับสนุนแนะนำทางให้กับพนักงานเดินตลาดของกิจการ กล่าวคือ เมื่อมีการโฆษณาชื่อสินค้าชื่อกิจการออกไปก่อน ทำให้คนทั่วไปรวมทั้งร้านค้ารู้จักสินค้านั้น เมื่อมีพนักงานเดินตลาดของกิจการออกไปติดต่อ ก็สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้าได้รู้จักสินค้านั้นก่อนแล้ว

3) เพื่อให้ผู้ซื้อยอมรับคุณภาพของสินค้า ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อว่า ถ้าสินค้านั้นไม่มีคุณภาพก็คงไม่กล้าโฆษณาออกไป

4) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้สินค้า

5) เพื่อตอกย้ำความทรงจำของลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้านั้นซ้ำอีก

6) เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้แทนจำหน่ายซึ่งเท่ากับเป็นการโฆษณาให้ หรือช่วยเพิ่มยอดขายให้กับตัวแทนขาย
7) เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีของกิจการ ในความรู้สึกของลูกค้าทั่วไป


การโฆษณาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ (Comprehensive Advertising)

การให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ คือ

1. การโฆษณาให้ความรู้ เกี่ยวกับประเภทของสินค้าและบริการ เช่น สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรม

2. การโฆษณาให้ความรู้ เกี่ยวกับความสำคัญของสินค้าและบริการโดยเฉพาะสินค้าที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์ เช่น อาหาร ยารักษาโรค

3. การโฆษณาให้ความรู้ เกี่ยวกับประโยชน์ของสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณาคุณสมบัติของยารักษาโรค

4. การโฆษณาให้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดใหม่ของการโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าและบริการโดยการใช้ชื่อโฆษณาแบบใหม่ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการทำให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการโฆษณา

5. การโฆษณาให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตสินค้า นับตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป


การโฆษณาเพื่อให้ข่าวสาร (Informative Advertising)

ข่าวสารของการโฆษณาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคมีหลายประเภท คือ

1. ข่าวสารการตลาด เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเหตุการณ์ของการตลาด

2. ข่าวสารการลงทุน เป็นการให้ข้อมูลทางด้านการลงทุนเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
3. ข่าวสารสินค้าและบริการใหม่ เป็นการบอกกล่าวและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าใหม่ หรือบริการใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสพิจารณาเลือกซื้อ

4. ข่าวสารราคาสินค้าและบริการ เป็นการใช้ข้อมูลด้านราคาเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจ และนำไปสู่การซื้อสินค้าและบริการ

5. ข่าวสารการส่งเสริมการขาย เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย เช่น การตลาด การแจกการแถม ของกำนัล เป็นต้น


การโฆษณาเพื่อชักจูงใจ (Persuasive Advertising)

การโฆษณาเพื่อชักจูงใจนั้นจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้บริโภค ทำให้เกิดการคล้อยตามที่จะซื้อสินค้าและบริการ สามารถใช้หลักการดังนี้ คือ

1. จูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ
- การโฆษณานี้ ต้องชี้แนะให้ผู้บริโภคเกิดความประสงค ์ในการใช้สินค้าและบริการ เมื่อผู้บริโภคใช้สินค้าและบริการแล้ว จะมีความสะดวกสบาย

2. จูงใจให้เกิดความประทับใจในสินค้าและบริการ
- การโฆษณาต้องสร้างความประทับใจกับผู้บริโภค โดยใช้ศิลปะของการสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความอยากรู้ อยากเห็น เร้าอารมณ์ ก่อให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม และเกิดความประทับใจในคุณภาพและบริการ

3. จูงใจให้เกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการ
- การโฆษณานี้ต้องสร้างภาพพจน์ของสินค้าและบริการ ให้สอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยเอาจุดเด่นของสินค้าและบริการมาสร้างสรรค์งานโฆษณา

4. จูงใจให้เกิดความภูมิใจในสินค้าและบริการ
- การโฆษณาในลักษณะนี้มักนำเอาบุคคลสำคัญ และเป็นที่รู้จักมาเป็นแบบในโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปเห็นว่า บุคคลสำคัญยังใช้สินค้าและบริการชนิดเดียวกับตน จึงเกิดความภาคภูมิใจเมื่อใช้สินค้าและบริการนั้น


หน้าที่ของการโฆษณา

การโฆษณาทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

1. หน้าที่การตลาด (Marketing Function) กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในส่วนประสมทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ทั้งสี่เครื่องมือนี้ ใช้ร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า อันจะนำไปสู่การสร้างยอดขายและกำไรในที่สุด

2. หน้าที่การติดต่อสื่อสาร (Communication Function) การโฆษณานี้ถือเป็นการติดต่อข่าวสาร เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการ หรือเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย

3. หน้าที่ให้ความรู้ (Education Function) การโฆษณาถือเป็นการให้ความรู้เกี่ยวการใช้ผลิตภัณฑ์ และทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

4. หน้าที่ด้านเศรษฐกิจ (Economic Function) จากการที่บุคคลรู้จักผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องมาจากการโฆษณาซึ่งทำให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์ เท่ากับการโฆษณาเป็นตัวสร้างยอดขายและกำไรให้กับธุรกิจดำเนินไปด้วยดี ทำให้เกิดการขยายตัวด้านการลงทุน เป็นผลทำให้เกิดการสร้างงาน อันเป็นผลทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น

5. หน้าที่ด้านสังคม (Social Function) การโฆษณาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชน ในประเทศใดประเทศหนึ่งและทั่วโลก การเผยแพร่ข่าวสารการโฆษณาจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม การโฆษณาไม่ใช่มุ่งแต่ขายสินค้าเท่านั้น แต่มีโฆษณาอีกมากที่ต้องคำนึงถึงภาระความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อสังคม และมวลมนุษย์

โฆษณา

โฆษณา

ป้ายโฆษณาใน ชินจุกุ ประเทศญี่ปุ่น

โฆษณา เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการที่ต้องการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักสินค้าหรือการบริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันการโฆษณาทำได้ตามสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางหนึ่ง

การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อคือการสื่อสารกับบุคคลหนึ่งเพื่อต้องการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น โน้มน้าวให้เห็นด้วยกับทางเลือกที่เราเสนอ จนเกิดการตัดสินใจตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ซึ่งอาจไม่สนใจในความถูกต้องหรือข้อเท็จจริง นำเสนอเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้การโน้มน้าวประสบผลสำเร็จ

การโฆษณา บนอินเทอร์เน็ต

ในโลกปัจจุบัน การโฆษณา ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเกือบทุกภาคธุรกิจ และราคาค่าโฆษณาก็ไม่สูงมากนัก คือการโฆษณาผ่าน สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือก เช่นในรูปแบบแบนเนอร์ติดตามเว็บไซต์ หรือตาม Search engine ต่างๆ เช่น Google เป็นต้น เพราะในสภาพสังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เริ่มมีเวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มากกว่าการอยู่หน้าจอโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุ

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตัวอย่างรายการโทรทัศน์

ตัวอย่างรายการโทรทัศน์
รายการสาระแน

ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย


ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย

ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญที่สามารถแบ่งได้ตามทศวรรษต่างๆ ดังนี้

ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี

ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง

ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519)
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศใน
ระบบสี
- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง
5 โดยออกอากาศในระบบสี
ทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน

ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521)
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน

ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ

ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549)
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน

โทรทัศน์


ประวัติโทรทัศน์: จุดกำเนิดโทรทัศน์ขาวดำ

โทรทัศน์เปรียบเสมือนเฟอร์นิเจอร์ที่แพร่หลายอยู่ในทุกครัวเรือน ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สื่อโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อประชาชนในหลายๆด้าน รวมทั้งการตัดสินใจทางด้านการเมือง เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดและเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก คือการถ่ายทอดรายการโต้วาทีหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1960 ระหว่าง Richard M. Nixon และ John F. Kennedy กล่าวกันว่า สาเหตุที่ประธานาธิบดี Kennedy ชนะการเลือกตั้ง มีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนได้เห็นบุคลิกภาพหน้าตาของเขาบนจอโทรทัศน์นั่นเอง


กล่าวกันว่า Paul Nipkow เป็นผู้ผลิตคิดค้นระบบโทรทัศน์ขึ้นในปี ค.ศ. 1884 ประกอบด้วยแผ่นจานที่มีช่องตรงกลาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มตันที่มีวิศวกรนักประดิษฐ์หลายคนถือเอาเป็นแม่แบบในการพัฒนาในเวลาต่อมา เช่น John Logie Baird และ Charles Francis Jenkins ที่ได้สร้างโทรทัศน์ระบบที่ไม่ใช้หลอดภาพหรือ Cathode Ray Tubes: CRTs ขึ้นในปี ค.ศ. 1928


ในยุคนั้น ระบบโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ยังล้าหลังระบบเครื่องกลอยู่มาก สาเหตุเนื่องจากโทรทัศน์แบบเครื่องกลเดิมมีราคาถูกมาก และไม่ได้ประกอบด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ซับซ้อนมาก ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ผลิตในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่โทรทัศน์ระบบเดิมก็ทำงานได้ดีอยู่แล้ว ในที่สุด Vladimir Kosmo Zworykin and Philo T. Farnsworth ก็ได้สร้างประดิษฐกรรมใหม่ขึ้นมา โทรทัศน์ระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงรับความนิยมมากขึ้น


Vladimir Zworykin ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก David Sarnoff ซึ่งเป็นรองประธานของบริษัท RCA ซึ่งมองเห็นช่องทางทำธุรกิจจากผลิตภัณฑ์โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ ต่อมา Philo Farnsworth ก็หาผู้สนับสนุนและลงทุนได้เช่นกัน บุคคลทั้งสองจึงกลับกลายมาเป็นคู่แข่งในความพยายามนำโทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์ออกสู่สาธารณชน ทั้งคู่ต่างก็พยายามหาหนทางที่จะผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ราคาถูก ภายในปี ค.ศ. 1935 ทั้งสองสามารถส่งสัญญาณภาพด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน


อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น มีคนจำนวนไม่มากนักที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ และภาพที่ได้รับก็เป็นภาพเบลอร์ๆบนจอขนาด 2 X 3 นิ้ว อนาคตของโทรทัศน์ในขณะนั้นยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก แต่การแข่งขันเพื่อให้ตนเองได้เป็นผู้นำในด้านการผลิตดูจะร้อนแรงขึ้นทุกขณะ


ในปี ค.ศ. 1939 RCA และ Zworykin ได้เตรียมตัวพร้อมในการจัดทำรายการ และเริ่มเปิดตัวโดยถ่ายทอดรายการ World’s Fair ในรัฐนิวยอร์ค การพัฒนาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1941 คณะกรรมการมาตรฐานโทรทัศน์แห่งชาติ (National Television Standards Committee: NTSC) ตัดสินใจว่าถึงเวลาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องกำหนดแนวทางที่เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งโทรทัศน์ของประเทศ หลังจากนั้นเพียง 5 เดือน สถานีโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมดจำนวน 22 แห่ง ก็หันมาใช้มาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ของ NTSC


ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (ราวๆ ค.ศ. 1930-1931) เครื่องรับโทรทัศน์มีราคาสูงสำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาเมื่อราราเครื่องลดลง ประเทศสหรัฐก็ตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 อีก ภายหลังสงครามเป็นยุคที่เศณษฐกิจเริ่มเรืองรอง จึงถือว่าเป็นยุคทองของโทรทัศน์ แต่น่าเสียดายที่ยุคนั้นเป็นเพียงยุคโทรทัศน์ขาวดำ


ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา จะนำเสนอประวัติศาสตร์โทรทัศน์ในยุคของโทรทัศน์สีในตอนต่อไป



วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ลิงค์รายการวิทยุ

ลิงค์รายการวิทยุของไทย ที่สามารถรับฟังและ ชมภาพการจัดรายการสด ๆ ของ ดีเจได้

ตัวอย่างรายการวิทยุ

ปัจจุบันรายการวิทยุสามารถรับฟังผ่านทาง อินเตอร์เน็ต และยังสามารถเห็นภาพของดีเจกำลังจัดรายการอยู่ขณะนั้นได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ฟังได้ดี และยังสามารถรับฟังและชมได้ทั่วโลก

ตัวอย่างรายการวิทยุของ ประเทศเกาหลีที่มีนักร้องไทย กอล์ฟไมค์ ไปร่วมรายการ
สามารถรับชมได้ทั่วโลก

ประเภทและรูปแบบของรายการวิทยุ


ประเภทของรายการวิทยุ แบ่งตามจุดประสงค์ของการนำเสนอเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ รายการเพื่อให้ข่าวสาร รายการให้ความรู้เพื่อการศึกษา รายการเพื่อความบันเทิง รายการโฆษณาประชาสัมพันธ์

1. รายการข่าว ธรรมชาติของคนตามปกติมีความอยากรู้อยากเห็นอยู่แล้ว การที่วิทยุกระจายเสียงสามารถนำเสนอเรื่องราวข่าวสารต่างๆ ได้รวดเร็วทันเหตุการณ์ ทำให้รายการวิทยุประเภทรายการข่าวได้รับความสนใจจากผู้รับฟังมากที่สุด สถานีวิทยุต่างๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำเสนอข่าวให้คนได้รับฟังเป็นระยะๆ โดยการนำเสนอในลักษณะต่างๆ เช่น ข่าวสั้น ข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ ข่าวท้องถิ่น นอกจากนี้ยังนำข่าวหรือเรื่องราวที่ผู้ฟังอาจรับทราบไปบ้างแล้ว มานำเสนอเป็นเชิงวิเคราะห์ ตลอดจนทำเป็นรายการสารคดีเชิงข่าว เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น

2. รายการให้ความรู้เพื่อการศึกษา ได้แก่ รายการที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้รับกลุ่มต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรายการของสถานีวิทยุทั่วไป หรืออาจเป็นรายการของสถานีวิทยุที่จัดตั้งขึ้นสำหรับถ่ายทอดรายการทางการศึกษาโดยเฉพาะ ที่มีวัตถุประสงค์และเนื้อหาแตกต่างกัน 3 ลักษณะคือ
2.1 รายการเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชนทั่วไป อาจเป็นรายการให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง หรืออาจเป็นสาระความรู้ที่แฝงอยู่ในรายการข่าวหรือรายการประเภทบันเทิงก็ได้ เนื้อหาของรายการจึงเป็นการให้ความรู้ หรือส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องที่ทั่วๆ ไป เช่น การเกษตร ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย การอนามัย แนวทางการดำเนินชีวิตต่างๆ
2.2 รายการเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อให้การศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน และกลุ่มสนใจเฉพาะเรื่อง
2.3 รายการเพื่อการสอนหรือการศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นรายการที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอความรู้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้แน่นอน เช่นรายการวิทยุโรงเรียนสำหรับการสอนในวิชาต่างๆ

3. รายการประเภทให้ความบันเทิง เช่น รายการดนตรี เพลง ละคร ตลอดจนรายการเบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้รับเกิดความเพลิดเพลิน ซึ่งอาจจัดในลักษณะเป็นรายการบันเทิงล้วนๆ หรือจัดเป็นรายการบันเทิงที่สอดแทรกข่าวและสาระความรู้ต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน

4. รายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เนื่องจากสถานีวิทยุกระจายเสียงส่วนใหญ่ดำเนินการโดยอาศัยการสนับสนุนจากธุรกิจการค้า จึงมีรายการวิทยุจำนวนมากที่มุ่งเพื่อการโฆษณา โดยเฉพาะรายการบันเทิงทั่วไป มักจะแทรกการโฆษณาสินค้าลงไปในรายการอยู่ตลอดเวลา อาจทำเป็นรายการโฆษณาสั้นๆ ที่เรียกว่าสปอต (Spot) แทรกหรือคั่นรายการเป็นระยะ นอกจากนี้ยังมีรายการวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจการของหน่วยงานองค์การต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในด้านการศึกษาถือว่ารายการประเภทนี้ อาจเป็นอันตรายในแง่ที่ส่งเสริมให้คนเกิดค่านิยมที่ไม่ดีในการบริโภค และเป็นช่องทางสำหรับการโฆษณาชวนเชื่ออีกด้วย


รูปแบบของรายการวิทยุ

1. รายการพูดกับผู้ฟัง คือรายการที่มีผู้พูดเพียงคนเดียวพูดกับผู้ฟัง เสมือนว่าผู้ฟังเป็นคู่สนทนาเพียงแต่ไม่มีโอกาสพูดโต้ตอบ ความสำเร็จของรายการประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้พูด ว่าจะสามารถพูดให้น่าสนใจ พูดให้เข้าใจ หรือพูดให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วมได้เพียงใด

2. รายการปาฐกถา หมายถึง รายการพูดปราศรัยทางวิทยุ เช่น การพูดของบุคคลสำคัญนายกรัฐมนตรีปราศรัยเนื่องในโอกาสต่างๆ ซึ่งจะเป็นการพูดแบบเป็นทางการ พูดตามบทที่เขียนไว้แน่นอนตายตัว ความสนใจผู้ฟังขึ้นอยู่กับ ความสำคัญของเรื่องที่พูด และความน่าศรัทธาเชื่อถือของผู้พูดเป็นสำคัญ

3. รายการเพลง เป็นรายการสำคัญและมีผู้นิยมฟังมากที่สุด สถานีวิทยุต่างๆ มักมีสัดส่วนรายการเพลงมากกว่ารายการประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุ FM ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบ สเตอริโอ คุณภาพเสียงชัดเจนเป็นพิเศษ ช่วยเพิ่มความไพเราะของเพลงหรือดนตรีต่างๆ ได้มาก

4. รายการสนทนา หมายถึงรายการพูดสนทนากันในเรื่องราวต่างๆ ระหว่างผู้ร่วมรายการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้นำการสนทนาเพื่อควบคุมการสนทนาให้อยู่ในขอบเขต จัดลำดับหรือเชื่อมโยงหัวข้อการสนทนา ไม่ให้ผู้ฟังเกิดความสับสน และพูดกับผู้ฟังโดยตรงในบางครั้ง เช่น การขึ้นต้น การสรุป

5. รายการสัมภาษณ์ หมายถึงรายการที่มีผู้พูดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตั้งคำถามตามที่จัดเตรียมเป็นลำดับเอาไว้ บุคคลอื่นจะเป็นผู้ตอบคำถาม

6. รายการอภิปราย เป็นรายการพูดอีกลักษณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ดำเนินการอภิปราย 1 คน และผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 2-4 คน พูดคุยแสดงความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในทัศนะหรือมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกัน

7. รายการสารคดี หมายถึงรายการลักษณะบรรยายเหตุการณ์ หรือเล่าเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องจากประวัติศาสตร์ บทประพันธ์ วรรณคดี อาจใช้ดนตรีประกอบหรือใช้การแสดงคล้ายละคร

8. รายการข่าว หมายถึงรายการที่จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เช่น ข่าวในพระราชสำนัก ข่าวท้องถิ่น ข่าวต่างประเทศ ข่าวสังคม วิธีการเสนอข่าวอาจรายงานจากสถานที่เกิดเหตุการณ์จริง หรืออาจเรียบเรียงแล้วนำมาอ่านออกอากาศ

9. รายการละครวิทยุ เป็นรายการพูดประกอบเสียง โดยใช้เทคนิคหลายๆ อย่างประกอบ กัน แสดงให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ ความเข้าใจ ความรู้สึกคล้อยตาม จึงเป็นรายการที่ได้รับความนิยมมากในอดีต ปัจจุบันเนื่องจากมีละครทางโทรทัศน์ ทำให้ความนิยมรายการละครวิทยุลดลง

10. รายการนิตยสารทางอากาศ เป็นรายการเสนอเรื่องราวที่มีหลายเรื่องหลายรสในรายการเดียวกัน แต่นำเสนอในลักษณะเชื่อมโยงเรื่องราวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

11. รายการปกิณกะ เป็นการเสนอเรื่องราวต่างๆ หลายเรื่อง เช่นเดียวกับรายการนิตยสาร เพียงแต่รายการปกิณกะแต่ละตอน แต่ละเรื่องนำเสนอแบบไม่เชื่อมโยงกัน

12. รายการตอบปัญหา หมายถึงรายการที่นำผู้ชมเข้าไปร่วมรายการแข่งขันตอบปัญหาต่างๆ ผู้ฟังจะมีโอกาสคิด และหาคำตอบของตัวเองไปพร้อมกับรายการ เป็นการส่งเสริมให้เกิดความรู้ความคิด โดยเฉพาะรายการถามตอบปัญหาทางวิชาการ

13. รายการตอบคำถาม หมายถึงรายการที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ถามปัญหาโดยใช้จดหมาย หรือโทรศัพท์ ผู้จัดรายการจะตอบปัญหาหรือไขข้อข้องใจต่างๆ ทางวิทยุ นอกจากจะเกิดประโยชน์สำหรับผู้ถามเองแล้ว ยังทำให้ผู้ฟังอื่นๆ ที่มีปัญหาคล้ายกันได้รับประโยชน์ด้วย

วิทยุกระจายเสียง

วิทยุกระจายเสียง

คำว่า วิทยุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า เรดิโอ (Radio) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงการรับและส่งข่าวด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุโดยไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องรับกับเครื่องส่ง หากส่งข่าวสารเป็นรหัสสัญญาณไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แทนภาษาพูด ก็เรียกว่าวิทยุโทรเลข (Radio Telegraph) คือการส่งโทรเลขโดยใช้คลื่นวิทยุนั่นเอง หากส่งให้ออกเป็นเสียงพูดหรือเสียงอื่นได้โดยตรงเรียกว่า วิทยุกระจายเสียง (Radio Broadcasting) เช่น การส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ ที่รับฟังกันอยู่ทั่วไป


ประวัติความเป็นมาของวิทยุกระจายเสียง

กำเนิดวิทยุของโลก มีความเป็นมาตามลำดับต่อไปนี้พ.ศ. 2408 เจมส์ คลาก แมกซ์เวล (James Clerk Maxwell) ชาวอังกฤษค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุพ.ศ. 2430 เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Henrich Rudolf Hertz) ได้ค้นคว้าทดลองตามหลักการของ แมลซ์แวล ค้นพบคุณสมบัติต่างๆ ของคลื่นวิทยุพ.ศ. 2444 กูลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo marconi) ชาวอิตาลี สามารถส่งคลื่นวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ระยะทางกว่า 2,000 ไมล์ การส่งวิทยุระยะแรกเป็นการส่งวิทยุโทรเลข ยังไม่สามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงพูดได้ จนกระทั้ง พ.ศ. 2449 จึงสามารถส่งสัญญาณเสียงพูดได้โดยการพัฒนาของศาตราจารย์ เรจินัลต์ เอ. เพสเสนเดน (Riginald A. Fessenden) และลีเดอฟอเรส (Lee de Forest) ชาวอเมริกันทำได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นการส่งเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับเครื่องหนึ่งในระยะไกลเรียกว่า วิทยุโทรศัพท์ (Radio Telephony) สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศครั้งแรกของโลกคือ สถานี KCBS ในซานฟรานซิโก สหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศรายการประจำให้คนทั่วไปรับฟังเมื่อ พ.ศ. 2453 (สุมน อยู่สิน และยงยุทธ รักษาศรี 2534 : 47-65)

วิทยุในประเทศไทย วิทยุโทรเลข ถูกนำเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 ตรงกับปลาย รัชกาลที่ 5 โดยห้างบีกริม ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทวิทยุโทรเลขเทเลฟุงเกน ประเทศเยอรมัน ทำการทดลอง ส่งระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเกาะสีชัง

พ.ศ. 2456 สมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดงในพระนครแห่งหนึ่ง และที่จังหวัดสงขลาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2469 ได้โอนกิจการสถานีวิทยุทั้งสองแห่งให้กรมไปรษณีโทรเลข และต่อมางานวิทยุโทรเลขได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศวิทยุกระจายเสียง เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยการเริ่มทดลองส่งของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพานิชย์ และการคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 7 ตั้งสถานี 4 พีเจ (4PJ) ขึ้นอยู่ในความดูแลของกองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่การกระจายเสียงจำกัดอยู่ในหมู่เจ้านาย ข้าราชการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2472 จึงตั้งสถานีวิทยุแห่งใหม่ขึ้นที่วังพญาไท กระจายเสียงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ซึ่งถือว่าเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของประเทศไทย

พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเผยแพร่ข่าวให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

พ.ศ. 2482 รัฐบาลตั้งสำนักงานโฆษณาการขึ้นและโอนสถานีวิทยุต่างๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานโฆษณาการ (ภายหลังเปลี่ยนกรมโฆษณาการ และเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เรียกสถานีวิทยุใหม่ว่า "สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย" หลังจากนั้นวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนาแพร่หลายมาเป็นลำดับ (อนันต์ธนา อังกินันทน์ 2532 : 9-16)

คุณค่าของวิทยุกระจายเสียง

คุณลักษณะทั่วไป

1. สามารถส่งคลื่นกระจายเสียงไปได้ไกลทุกหนทุกแห่ง ผู้รับจึงสะดวกสามารถจะเปิดเครื่องรับฟังได้ทุกสถานี คลื่นวิทยุที่ใช้สำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงมีหลายขนาดคลื่น เช่น LW SW MW หรือ AM FM ซึ่งคลื่นแต่ละอย่างมีคุณสมบัติต่างกัน สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับระยะทางหรือพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น คลื่นสั้น (SW) สามารถส่งไปได้ไกลมากเป็นพิเศษแม้จะอยู่คนละซีกโลกก็สามารถรับได้ ไม่จำกัดทั้งระยะทางและสิ่งกีดขวาง ผลดีในแง่การสื่อสารก็คือ ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้รับได้พร้อมกันจำนวนมหาศาล

2. ส่งข่าวสารได้รวดเร็วกว่าสื่ออื่นทุกประเภท เนื่องจากงานจัดรายการวิทยุสามารถทำได้โดยง่าย ใช้คนเพียงคนเดียวก็สามารถพูดหรือเปิดเทปออกอากาศได้ทันที ซึ่งสถานีวิทยุต่างๆ มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา วิทยุจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเสนอรายการประเภทข่าว ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการนำเสนอ

3. มีกำลังชักชวนจูงใจสูง แม้ว่าวิทยุเป็นสื่อที่มีเพียงเสียงอย่างเดียวแต่ด้วยอำนาจของเสียง คำพูด เทคนิคของวิทยุ และความสามารถของผู้จัดรายการ ซึ่งส่วนใหญ่มีทักษะในการพูดเป็นอย่างดี สามารถพูดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน พูดให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนได้เห็นภาพ และคำพูดมีอิทธิพลในการชักจูงใจสูง เป็นสื่อที่ใช้ได้ดีกับรายการหลายประเภท เช่น ข่าว ละคร การพูดบรรยาย ดนตรี เพลง การโฆษณาสินค้า ฯลฯ

4. ความสะดวกและง่ายต่อการรับ อาจใช้เครื่องรับวิทยุขนาดเล็ก รับสัญญาณวิทยุในสถานที่ใดๆ ก็ได้ เช่น ในบ้าน รถยนต์ สำนักงาน รับฟังได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีความตั้งใจเป็นพิเศษ อาจฟังวิทยุไปพร้อมกับการทำงานอื่นๆ วิทยุจึงเป็นสิ่งที่ใช้ได้ทุกเวลาทุกโอกาส

5. เป็นสื่อมวลชนที่ผู้รับเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ไม่ว่าจะใช้วิทยุเพื่อรับรู้ข่าวสารหรือเพื่อความบันเทิงก็ตาม ผู้รับลงทุนครั้งแรกสำหรับเครื่องรับวิทยุเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรับฟังสิ่งต่างๆ ได้ตลอดไป มีรายการของสถานีวิทยุต่างๆให้รับฟังเป็นจำนวนมาก ผู้นิยมฟังเพลงทางวิทยุ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อเทปหรือแผ่นเสียงต่างๆ เพราะวิทยุกระจายเสียงมีรายการประเภทนี้มากเป็นพิเศษแทบทุกสถานี

6. ปริมาณและคุณภาพของวิทยุกระจายเสียง ด้านปริมาณมีสถานีวิทยุต่างๆ ออกอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก เฉพาะสถานีวิทยุในประเทศไ ทย รวมทุกภูมิภาคแล้วมีจำนวนหลายร้อยสถานี แต่ละภูมิภาคก็สามารถรับได้หลายสิบสถานี จึงเปิดโอกาสให้เลือกรับฟังได้อย่างกว้างขวาง ด้านคุณภาพปัจจุบันมีการส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบ สเตอริโอ คุณภาพเสียงชัดเจนเป็นพิเศษ จึงมีผู้นิยมฟังรายการประเภทเพลง หรือดนตรีทางวิทยุกันมาก

ตัวอย่างภาพยนตร์

ตัวอย่างภาพยนตร์ เรื่อง รักแห่งสยาม

ภาพยนตร์

ภาพยนตร์

ภาพยนตร์ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว (motion pictures) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้

ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือ ฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง

เทคโนโลยีภาพยนตร์

ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา (persistence of vision) และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ

ประวัติ

ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที

รัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้ชมภาพยนตร์แบบนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้นำมาถวายให้ทอดพระเนตรเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ในปี พ.ศ. 2439

ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema)ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน

ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา

พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพตัวอย่างสื่อสิ่งพิมพ์

ภาพตัวอย่าง ของ สื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทการพิมพ์

ประเภทการพิมพ์

วิธี การพิมพ์แบบนี้ จะทำแม่พิมพ์โดยการกัดแบบให้เป็นร่องลงไปในแม่พิมพ์ ส่วนที่เป็นผิวเรียบด้านหน้าใช้น้ำยาเคลือบผิว เพื่อกันหมึกไหลมาเกาะ เมื่อนำหมึกทางลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะลงไปขังในร่องที่กัดไว้ หลังจากนั้นนำกระดาษที่ต้องการพิมพ์วางทับบน แม่พิมพ์ หมึกก็จะติดออกมาตามต้องการ งานพิมพ์ประเภทนี้เป็นชนิดที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม ตัวพิมพ์จะนูนทั้ง ภาพลายเส้นและ ตัวหนังสือ นิยมใช้พิมพ์เอกสารสำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลงหรือทำเลียนแบบ

แม่พิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Plate) การพิมพ์จะอาศัยหลักการทางเคมี คือ เมื่อจัดทำภาพบนแผ่นโลหะแบนแล้ว คุณสมบัติที่ต้องการคือ เมื่อทาหมึกลงบนแผ่นนั้นส่วนที่เป็นภาพจะดูดหมึกไว้ ส่วนที่ไม่มีภาพคือไม่ต้องการพิมพ์จะไม่ดูดหมึก เมื่อนำไปกดทับกระดาษหมึกก็จะติดบนกระดาษเป็นภาพที่ต้องการได้ การพิมพ์แบบนี้เป็นที่นิยมมากเรียกว่าระบบออฟเซท (Offset) เหมาะสำหรบการพิมพ์ตัวหนังสือและภาพหลายเส้น ลงบนแผ่นกระดาษ แผ่นโลหะ หรือผ้าก็ได้

การพิมพ์ออฟเซท (offset Printing)

การพิมพ์ออฟเซทเป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นแบนอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แม่พิมพ์ทำด้วยแผ่นโลหะอลูมิเนียม หรือเป็นแผ่นสังกะสี หรืออาจทำจากกระดาษ หรือเป็นแผ่นพลาสติกก็ได้ การเลือกใช้แผ่นแม่พิมพ์ชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนในการพิมพ์ แม่พิมพ์โลหะ สามารถพิมพ์ได้เป็นจำนวนมากเป็นหมื่น ๆ แผ่น (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 198) การพิมพ์แบบออฟเซทมีลักษณะที่พิเศษแตกต่าง จากวิธีการอื่น คือมีลูกโมทรงกระบอกอย่างน้อย 3 ลูก ทำหน้าที่ดังนี้

1. ลูกโมใช้หุ้มแผ่นแม่พิมพ์ อาจเป็นแผ่นโลหะหรือกระดาษก็ได้ เรียกว่า โมแม่พิมพ์ (Plate Cylinder) ลูกโมแม่พิมพ์ จะมีลักษณะกลมเหมือนท่อโลหะขนาดใหญ่ มีขอเกี่ยวแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลทให้ตรึงแน่นไม่เคลื่อนที่ติดกับ ลูกดม เพราะแผ่นเพลท จะต้องถูกับลูกกลิ้งหมึกและลูกกลิ้งน้ำอยู่ตลอดเวลา ถ้าเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อย ตำแหน่งของภาพจะ เคลื่อนไปจะมีปัญหากับการพิมพ์ สอดสีหรือการพิมพ์หลายเพลท

2. ทำหน้าที่รับภาพจากแผ่นแม่พิมพ์ เรียกว่าลูกโมยาง (Blanket Cylinder)

3. ทำหน้าที่กดกระดาษให้แนบกับลูกโมยาง เพื่อให้หมึกติดเป็นภาพลงบนกระดาษ (Impression cylinder)


เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท

การพิมพ์โดยแม่พิมพ์นูน (Relief Printing)

การพิมพ์วิธีนี้เป็นการแกะหรือกัดบล็อค หรือการใช้ตัวอักษรหล่อเป็นตัวนูน เมื่อนำหมึกทาลงบนหน้าของบล็อค แล้วนำไปกดทับบนกระดาษก็จะได้ภาพบนกระดาษนั้น แม่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือตัวอักษรจะต้องกลับซ้ายขวา เพราะการพิมพ์จะเหมือนกับการกดด้วยตรายาง ภาพจะกลับเป็นจริงบนกระดาษ แม่พิมพ์อาจทำได้หลายวิธี เช่น การแกะด้วยมือ การหล่อหรือจะใช้วิธีการแกะบล็อคก็ได้ โดยเฉพาะแม่พิมพ์เป็นภาพจากภาพถ่าย สำหรับวิธีการหล่อส่วนมาก จะหล่อเป็นตัวอักษรนำมาเรียง เรียกว่า ตัวเรียงพิมพ์ (Letter press) จึงเรียกว่าการพิมพ์แบบตัวเรียง (Letter Press Printing)


เครื่องพิมพ์ระบบแม่พิมพ์ลายฉลุ

การพิมพ์วิธีนี้ เป็นวิธีพิมพ์ที่ใช้หลักการง่ายๆ คือ การใช้แม่พิมพ์ที่ทำด้วยผ้าบาง ๆ แต่มีความเหนียว โดยมีจุด ประสงค์ว่าถ้าบริเวณใดที่ไม่ต้องการให้หมึกผ่านก็บังส่วนนั้น เมื่อทำการพิมพ์จะวางแม่พิมพ์ทับบนกระดาษและปาดหมึกลง บนแม่พิมพ์ที่วางทับอยู่นั้น ส่วนที่เปิดไว้หมึกก็จะไม่สามารพผ่านลงไปติดกระดาษได้ ส่วนที่ไม่ได้ปิดไว้หมึกก็จะลงไปติดกระดาษ ที่รองอยู่ด้านล่าง ทำให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การสร้างแม่พิมพ์ลายฉลุมี 3 วิธีคือ

1. การฉลุด้วยมือ (Hand Cut Stencil)

2. การใช้วิธีการถ่ายภาพ (Photo Stencil)

3. การใช้เครื่องปรุไขอิเล็คโทรนิคส์

เครื่องพิมพ์ระบบเครื่องปรุไขอิเล็กทรอนิกส์

การพิมพ์ด้วยแสงโดยวิธีการถ่ายเอกสาร

ในปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ ด้านการติดต่องาน หรือทางด้านการศึกษา หลักการอย่างง่าย ๆ ในการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นลำดับขั้นตอนดังนี้

1. แสงสว่างจากหลดไฟส่องไปกระทบกับต้นฉบับและสะท้อนภาพไปยัง Drum


2. เกิดไฟฟ้าสถิตบนผิว Drum บริเวณที่ไม่ได้รับแสงสะท้อนที่เป็นภาพ

3. ผงแม่เหล็กที่อยู่ในกล่องรวมกับผงหมึกถูกส่งออกมาเกาะที่ผิว Drum เฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ

4. แผ่นกระดาษเคลื่อนที่ผ่าน

5. เกิดประจุที่มีกำลังสูงกว่า บนเส้นลวดใต้แผ่นกระดาษที่กำลังเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของกระดาษจะ สัมพันธ์กับ Drum

6. ผงเหล็กจะพาผงหมึกลงมาที่กระดาษ ที่จริงแล้วจะมาที่เส้นลวดแต่มีกระดาษ ขวางอยู่ผงจึงติดอยู่ บนกระดาษ ภาพจึงมาปรากฏบนกระดาษเพราะมีผงหมึกที่ถูกดูดลงมาตามลักษณะของภาพ

7. กระดาษที่มีภาพปรากฏ เคลื่อนที่ผ่านลูกกลิ้งความร้อนและอัดให้ผงหมึกละลายติดแน่นเป็นภาพที่คง ทนตามต้องการ



เครื่องพิมพ์ระบบการพิมพ์ด้วงแสงแบบถ่ายเอกสาร

ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพิมพ์

การศึกษาในปัจจุบัน ผู้เรียนต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างน้อยควรเป็นขั้นพื้นฐาน การใช้งานส่วน มากเน้น ไปที่การพิมพ์รายงาน เพื่อให้ได้ผลงานการพิมพ์ที่คุณภาพดี เรามักใช้โปรแกรม Winword บน Windows สำหรับเครื่อง PC ใช้งานทั่วไป เนื่องจากมีแบบตัวอักษรที่สวยงามหลายรูปแบบ ผู้สนใจควรศึกษาโปรแกรมเหล่านั้นและ ฝึกหัดให้บ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน การที่จะใช้โปรแกรมอื่นก็ได้เพราะโปรแกรมกราฟฟิกจะมีส่วนของ การพิมพ์ตัวอักษรอยู่แล้ว ถ้าหากมีความรู้ทางด้านโปรแกรมราชวิธี (RW) หรือ จุฬา (CW) ก็ใช้งานได้เช่นเดียวกัน แต่ตัว เลือกที่จะใช้อักษรแบบต่าง ๆ มีน้อย แต่ก็ใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อน อุปกรณ์ประกอบที่สำคัญคือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ร่วมกับ คอมพิวเตอร์นั่งเอง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้

เครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix
เป็นเครื่องพิมพ์ใช้ระบบการกระแทก โดยใช้หัวเข็มขนาดเล็กซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือถ้าเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กจะมี 9 หัวเข็ม และขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูงจะมี 24 หัวเข็ม การทำงานเป็นไปตามคำสั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ หัวเข้มจะ กระแทกผ่านผ้าหมึกพิมพ์เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ดีด ตัวอักษรก็จะไปติดบนกระดาษ และฉบับที่พิมพ์นี้ไปทำสำเนา จำนวน มากด้วยเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลหรือถ่ายเอกสารได้เลย แต่ถ้าหากจะนำไปพิมพ์สำเนาในระบบโรเนียวให้พิมพ์ลงบน กระดาษ ไขโดยนำผ้าพิมพ์ออก และให้หัวเข็มกระแทกเจาะลงบนกระดาษไขเช่นเดียวกับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดเครื่องพิมพ์ ประเภทนี้มีความจำเป็นในการพิมพ์ที่ต้องสำเนาด้วยคาร์บอน 2 - 3 ชั้น เช่นการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

เครื่องพิมพ์แบบ Inkjet
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานตามคำสั่งของคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการพ่นหมึกโดยตรงลงบนกระดาษโดยหัวพิมพ์ จะ บรรจุหมึกเป็นแบบ Ink Cartridgeการพ่นหมึกออกมานี้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้ความร้อน (heating/cooling (thermal) inkjet method) ซึ่งใช้อยู่ในเครื่อง Canon , HP และ lenmark ส่วนแบบที่ 2 เป็นแบบ mechanical method เครื่อง Epson ใช้ระบบนี้ การพิมพ์ระบบอิงค์เจ็ตในปัจจุบันได้คุรภาพที่ดีมากทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับคุณภาพของกระดาษ ที่นำมาใช้พิมพ์ เนื่องจากหมึกพิมพ์จำเป็นต้องการกระดาษที่ซึมซับหมึกได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นจะให้เลอะได้ง่ายอีก ประการหนึ่งจำเป็น ต้องปรับไดรแอร์ให้เหมาะสมกับการพิมพื เพราะถ้าหากเครื่องพิมพ์ทำงานผิดพลาดตัวอักษรหรือรูปภาพ จะเกิดอาการสั่นหรือ ภาพส่ายเป็นคลื่น ความเร็วในการพิมพ์จะประมาณ 1 - 2 แผ่นต่อนาที การใช้เครื่องพิมพ์ประเภทนี้จึง เหมาะกับการทำต้นฉบับ จำนวนน้อย และนำไปสำเนาด้วยเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลหรือนำไปถ่าย ทำเพลทออฟเวทได้โดยตรง




เครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก (InkJet)


เลเซอร์ (Laser Printer)

เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เป็นการทำงานโดยใช้ Photo sensitive drum ในการทำงานเพื่อให้เกิดรูปภาพหรือ ตัวอักษร ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับเครื่องถ่ายเอกสารมาก จะแตกต่างกันตรงที่ข้อมูลของเครื่องถ่ายเอกสารจะ เป็น แผ่นภาพหรือตัวอักษรที่ต้องการทำสำเนาลงบนกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง ให้เหมือนกับต้นฉบับเดิม ส่วนการพิมพ์ด้วยเลเซอร์ เป็น การถ่ายโอนข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อต้องการพิมพ์โปรแกรมการพิมพ์ก็จะส่งข้อมูลไปยัง เครื่องโดยใช้ Page Description Language เครื่องพิมพ์ก็จะประมวลผลทีละหน้าและเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง พิมพ์ หลังจากนั้นจะเกิดการ Modulation ทำให้ลำแสงสะท้อนผ่านกระจกเงาที่กำลังหมุนสัมพันธ์กับดรัมที่เคลือบด้วยวัสดุ ไวแสงหมุนไปพร้อม ๆ กัน แสงเลเซอร์จะกวาดไปบนสแกนไลน์ (Scan Line) ทำให้เกิดจุดไฟฟ้าสถิตเล็ก ๆ ขึ้นบนผิวดรัม ในขณะเดียวกันดรัมก็จะดูดเอาโทนเนอร์ที่มีประจุไฟฟ้าอย่ติดขึ้นมาตามคำสั่งภาพหรืออักษรนั้น เมื่อกระดาษผ่านเข้ามาก็จะดูด เอาผงหมึกลงมาเกาะติดและผ่านกระบวนการความร้อนเพื่อให้เกิดการหลอมละลายติดบนกระดาษ

ผลของการพิมพ์ที่ได้ สามารพนำไปเป็นต้นฉบับได้เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจต การพิมพ์ด้วยเครื่อง เลเซอร์จะมี ความเร็วสูงกว่าอิงค์เจตมาก โดยประมาณ 4-20 แผ่นต่อนาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารพของเครื่องพิมพ์




เครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์




อ้างอิง : เรืองวิทย์ นนทะภาและคณะ. เอกสารการสอนวิชาสื่อและเทคโนโลยีการสอน. กรุงเทพฯ

สื่อสิ่งพิมพ์


การพิมพ์ เป็นการสำเนาหรือจำลองต้นฉบับลงบนวัตถุที่มีพื้นผิวเรียบหรือค่อยข้างขรุขระเพียงเล็กน้อย อาจจะแบนรายหรือโค้งนูน ให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดโดยคำนึงถึงปริมาณในการผลิตจำนวนมาก สิ่งที่นำมาสำเนาอาจเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ สัญลักษณ์ต่าง ๆ วัตถุที่นำมารองรับอาจเป็นวัตถุผิวเรียบ เช่นกระดาษแผ่นไม้กระดานหรืออาจมีประเภทผิวโค้ง นูนหรือขรุขระก็ได้ ลักษณะที่พอจะสรุปได้ว่าเป็นลักษณะของการพิมพ์ คือ

1. ต้องเป็นการจำลองหรือสำเนาจากต้นฉบับลงบนวัตถุ

2. ต้องมีการทำจำนวนมาก

3. ชิ้นงานที่ได้จะต้องมีคุณภาพเหมือนต้นฉบับหรือใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด

4. ต้องใช้เครื่องมือหรือกลไกลต่าง ๆ ช่วย ไม่ใช่เป็นผลงานจากการทำด้วยมือเปล่าโดยไม่มีอุปกรณ์ใดว่าถือว่า เป็นการวาดหรือ เขียนตามปกติ

การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น

ชาวจีนเป็นประเทศแรกที่คิดค้นวิธีการพิมพ์ขึ้นก่อน โดยค้นพบวิธีการทำกระดาษ การทำหมึก และตัวพิมพ์ขึ้นโดย ใช้ดินเหนียว ต่อมาชาวเกาหลีได้คิดค้นดัดแปลงตัวพิมพ์ทำด้วย โลหะหล่อซึ่งได้ผลในการพิมพ์ดีขึ้นและทนทาน สามารถนำมา ใช้ได้หลายครั้งเป็น เวลานาน หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เยอรมัน อังกฤษ และอเมริกา ได้พัฒนาการพิมพ์ให้มี ประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นจน ปัจจุบันสามารถพิมพ์ภาพสีได้เหมือนกันธรรมชาติมากที่สุด การพิมพ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อราว รัชกาลที่ 4 โดย บุคคลที่นำระบบ การพิมพ์มาเผยแพร่ได้แก่ หมด บลัดเลย์ ซึ่งเป็นผู้เริ่มงานพิมพ์เป็นคนแรก

คุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์

1. ใช้ประกอบคำบรรยายในการสอน

2. ช่วยเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาในรูปแบบเดียวกัน

3. ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ

4. เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน

5. ใช้เป็นสื่อเพื่อการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์

ชนิดของสื่สิ่งพิมพ์

1. หนังสือเรียน แบบเรียน ตำรา เอกสารการสอน

2. หนังสือพิมพ์

3. วารสาร นิตยสาร

4. แผ่นปลิวโฆษณา

5. หนังสือการ์ตูน

6. หนังสือนวนิยาย

ประเภทของกาพิมพ์

ในปัจจุบันมีวิธีการพิมพ์อยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่เป็นที่นิยมกันมากได้แก่
1. การพิมพ์โดยแม่พิมพ์ร่องลึก (Intaglio Printing)

2. การพิมพ์โดยแม่พิมพ์พื้นแบน (Planographic printing)

3. การพิมพ์โดยแม่พิมพ์นูน (Relief Printing)

4. การพิมพ์โดยแม่พิมพ์ลายฉลุ (Screen-Process Printing)

5. การพิมพ์ด้วยแสงโดยวิธีการถ่ายเอกสาร (Photographic Printing)

6 . ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพิมพ์

นิเทศศาสตร์


นิเทศศาสตร์ คือ การสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร(sender) สาร(message) สื่อ(channel) ผู้รับสาร(receiver) และมีผลของการสื่อสาร(feedback) ซึ้งเป็นกระบวนการ

การสื่อสารมีทั้งภายใน ที่เรียกว่าการสื่อสารภายในตัวเอง และภายนอก เช่น การพูดคุย การสื่อสารมีทั้ง วัจนะภาษา คือ การพูด และ อวัจนะภาษา คือ กิริยาท่าทางที่แสดงออกทางร่างกาย

นิเทศศาสตร์ คือการสื่อสารทุกประเภท เช่น การสื่อสารจากหนึ่งคน ไปยังมวลชนหรือประชาชน โดยผ่านทางสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมส์ เป็นต้นเรียกว่า สื่อสารมวลชน การสื่อสารต้องมีกระบวนการที่สมบูรณ์จึงจะมีประสิทธิภาพ และได้ผลคือ s m c r ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร จะขาดตัวไดตัวหนึ่งไม่ได้เพราะจะไม่ครบกระบวนการ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์ของไทย

การเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์ของไทย



โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


การเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทยมีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยมีวิชาเอกอยู่ 4 สาขาวิชาคือ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และวารสารศาสตร์ จำนวนนักศึกษาที่จะเข้าเรียนในคณะนิเทศศาสตร์มีมากขึ้นทุกปี ทั้งในระดับบัณฑิตศึกษาและมหาบัณฑิต ในระดับมหาบัณฑิตสาขาที่กำลังเป็นที่นิยมและเหมากับยุคสมัยได้แก่ การสื่อสารธุรกิจ และนิเทศศาสตร์การตลาด


หลักสูตรนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีในแต่ละมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องจำนวนของหน่วยกิต แต่มีความแตกต่างกันด้านการจัดการไปตามหมวดวิชาและวิชาพื้นฐาน


ขอบเขตของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ครอบคลุมถึงความรู้ทั่วไป และประเด็นรอบตัวที่สำคัญ เนื่องจากสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้รับสารจำนวนมาก หลักสูตรนิเทศศาสตร์จึงต้องศึกษาทั้งในเรื่องรอบๆ ตัว และเนื้อหาวิชาต่างๆ ในเชิงลึก แทนที่จะศึกษาเฉพาะเจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
สถาบันการศึกษา ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่ดำเนินการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์ มีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน คือ


1. มหาวิทยาลัยของรัฐ มีการเปิดสอนทางด้านการสื่อสารมวลชนโดยตรง โดยการเปิดคณะวิชาทางด้านนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ ได้แก่


(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th/

(2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/

(3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.ru.ac.th/

(4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.cmu.ac.th/

(5) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.ku.ac.th/

(6) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://www.stou.ac.th/

(7) มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.buu.ac.th/

(8) มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.nu.ac.th/


2. มหาวิทยาลัยภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเพียงแห่งเดียวที่จัดอยู่ในสถาบันการศึกษาประเภทนี้ โดยมีการเปิดสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ


3. มหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเน้นไปในด้านนิเทศศาสตร์ธุรกิจหรือนิเทศศาสตร์การตลาด ได้แก่


(1) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://www.bu.ac.th/

(2) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต http://www.kbu.ac.th/

(3) มหาวิทยาลัยคริสเตียน http://www.christian.ac.th/

(4) วิทยาลัยทองสุข
(5) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ http://www.dpu.ac.th/

(6) มหาวิทยาลัยนอร์ท อีสเทิร์น
(7) มหาวิทยาลัยรังสิต http://www.rsu.ac.th/

(8) มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th/

(9) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย http://www.utcc.ac.th/

(10) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย http://www.eau.ac.th/

(11) มหาวิทยาลัยเกริก http://www.krirk.ac.th/

(12) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น http://www.stjohn.ac.th/

(13) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร http://www.mut.ac.th/

(14) มหาวิทยาลัยพายัพ http://www.payap.ac.th/

(15) มหาวิทยาลัยโยนก http://www.yonok.ac.th/

(16) มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล http://www.vu.ac.th/

(17) มหาวิทยาลัยสยาม http://www.siamu.ac.th/

(18) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://www.au.ac.th/


4. สถาบันการศึกษาซึ่งดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาในชนบทและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน สถาบันการศึกษาในกลุ่มนี้ คือ สถาบันราชภัฏ 22 แห่ง (แยกจากที่มีอยู่ 36 แห่งทั่วประเทศ)


(1) สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ http://www.cmri.ac.th/

(2) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ http://www.rink.ac.th/

(3) สถาบันราชภัฏอุดรธานี http://www.riudon.ac.th/

(4) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา http://www.rin.ac.th/

(5) สถาบันราชภัฏเทพสตรี http://www.rits.ac.th/

(6) สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ http://www.rirc.ac.th/

(7) สถาบันราชภัฏเพชรบุรี http://www.rajabhat.edu/

(8) สถาบันราชภัฏนครปฐม http://www.rinp.ac.th/

(9) สถาบันราชภัฏยะลา http://www.riy.ac.th/

(10) สถาบันราชภัฏพระนคร http://www.ripn.ac.th/

(11) สถาบันราชภัฏจันทรเกษม http://www.chandra.ac.th/

(12) สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ http://www.riu.ac.th/

(13) สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ http://www.ripb.ac.th/

(14) สถาบันราชภัฏมหาสารคาม http://www.rimhk.ac.th/

(15) สถาบันราชภัฏอยุธยา http://www.ripa.ac.th/

(16) สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ http://www.ripw.ac.th/

(17) สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี http://www.rb.ac.th/

(18) สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง http://www.rimc.ac.th/

(19) สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี http://www.risurat.ac.th/

(20) สถาบันราชภัฏสงขลา http://www.riska.ac.th/

(21) สถาบันราชภัฏสวนดุสิต http://www.dusit.ac.th/

(22) สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา http://www.riss.ac.th/


สาขาวิชาทางนิเทศศาสตร์
ปัจจุบัน การเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์ มีอยู่ 10 สาขาวิชาด้วยกัน คือ


1. การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเปิดสอนในหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิตทุกสถาบัน ยกเว้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


2. การหนังสือพิมพ์และวารสารศาสตร์ เปิดสอนในสถาบันการศึกษา 13 แห่งด้วยกัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล และมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนอีก 5 สถาบันซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมด ได้ดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์โดยตรง คือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสถาบันราชภัฏซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ


3. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดสอนอยู่ 11 สถาบันด้วยกัน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเอกชน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รวมทั้งสถาบันราชภัฏด้วย


4. การถ่ายและฉายภาพยนตร์ การภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรังสิต และสถาบันราชภัฏ


5. การสื่อสารมวลชน เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง


6. การจัดการสารสนเทศ เปิดสอนโดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


7. นิเทศศาสตร์ธุรกิจ การจัดการการสื่อสาร และการสื่อสารการตลาด เปิดสอนโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยธุรกิจธุรกิจบัณฑิตย์


8. การละคร เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตย์


9. วาทนิเทศ เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


10. ทัศนศาสตร์ เปิดสอนโดย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ


โดยสรุป สามารถจำแนกจำนวนสถาบันตามสาขาวิชาของคณะนิเทศศาสตร์ ได้ดังนี้


1. การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ มีการเปิดสอนอยู่ 22 แห่ง

2. การหนังสือพิมพ์และวารสารศาสตร์ มีการเปิดสอนอยู่ 13 แห่ง

3. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีการเปิดสอนอยู่ 11 แห่ง

4. การสื่อสารมวลชน มีการเปิดสอนอยู่ 7 แห่ง

5. การภาพยนตร์ การถ่ายภาพ วีดีทัศน์ มีการเปิดสอนอยู่ 6 แห่ง

6. การจัดการสารสนเทศ มีการเปิดสอนอยู่ 3 แห่ง

7. นิเทศศาสตร์ธุรกิจ การจัดการการสื่อสาร มีการเปิดสอนอยู่ 3 แห่ง

8. การละคร มีการเปิดสอนอยู่ 2 แห่ง

9. วาทนิเทศ มีการเปิดสอนอยู่ 1 แห่ง

10. ทัศนศาสตร์ มีการเปิดสอนอยู่ 1 แห่ง


จากข้อมูลข้างต้น จะพบว่าสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เป็นที่นิยม มากที่สุดและมีการขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการเปิดสอนในระดับปริญญาทางนิเทศศาสตร์เกือบทุกสถาบัน อันดับที่สอง สาม และสี่ คือ สาขาวิชาการหนังสือพิมพ์และวารสารศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และการสื่อสารมวลชน

นิเทศศาสตร์ คืออะไร?



นิเทศศาสตร์ คืออะไร?


นิเทศศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร การที่จะทำให้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทุกขั้นตอนเพื่อส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการสื่อสารได้ ดังนั้นนิเทศศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่สร้างให้เกิดความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้รับสารกับผู้ส่งสารได้

นิเทศศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยศิลปะของการสื่อสารทุกประเภท ทุกระดับ โดยทางใดก็ตามไปยังบุคคลหรือมวลชน ด้วยการใช้เทคนิควิชาการที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลอย่างเต็มที่

การศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ศึกษามีขอบข่ายการศึกษาหลายแนวทางซึ่งแต่ละแนวทางสามารถทำการศึกษาได้ทั้งด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติหรือการนำไปประยุกต์ใช้ การศึกษาด้านวิชาการเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ในงานด้านการสื่อสาร หรือด้านนิเทศศาสตร์ ส่วนการศึกษาด้านการปฏิบัติหรือการประยุกต์ใช้จะเป็นการศึกษาเพื่อนำความรู้ด้านการสื่อสาร หรือด้านนิเทศศาสตร์ไปประยุกต์กับการทำงานในวิชาชีพต่างๆ เช่น


1. งานในวิชาชีพนิเทศศาสตร์ เป็นการศึกษาจากงานด้านนิเทศศาสตร์ หรือการสื่อสารเป็นแนวทางทางการศึกษา เช่น งานโฆษณา งานประชาสัมพันธ์ งานวิทยุกระจายเสียง งานวิทยุโทรทัศน์ งานหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ งานภาพยนตร์ งานศิลปะการแสดง งานวาทะวิทยา งานการผลิตสื่อต่างๆ และงานที่เกี่ยวข้อง


2. การประยุกต์ใช้การสื่อสาร หรือนิเทศศาสตร์กับงานอื่นๆ เป็นการแนวทางการศึกษางานของวิชาชีพอื่นๆ ที่การสื่อสาร หรือนิเทศศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ เช่น การสื่อสารการตลาด การสื่อสารการเมือง การสื่อสารสาธารณสุข การสื่อสารการกีฬา จิตวิทยาการสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสาร การสื่อสารการแพทย์ การสื่อสารองค์การ การสื่อสารธุรกิจ ...


3. การศึกษากระบวนการของการสื่อสาร เป็นการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์หรือการสื่อสารซึ่สามารถศึกษาศึกษาแต่ละองค์ประกอบของการสื่อสาร หรือทั้งกระบวนการสื่อสาร


3.1 การศึกษาแต่ละองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร เป็นการศึกษาตามองค์ประกอบของการสื่อสารได้แก่ การศึกษาผู้ส่งสาร การศึกษาสาร การศึกษาสื่อ การศึกษาผู้รับสาร การศึกษาผลย้อนกลับของการสื่อสาร หรือสภาพแวดล้อมของการสื่อสาร


3.2 การศึกษาทุกองค์ประกอบของการสื่อสาร เป็นการศึกษาในคราวเดียวกันทุกองค์ประกอบของการสื่อสาร เช่น การศึกษารูปแบบการประชาสัมพันธ์ของฝ่ายประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะเป็นการศึกษาทั้ง ผู้ส่งสารคือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ มสธ. ศึกษาเนื้อหาสาระของสาร ศึกษาการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ศึกษาคุณลักษณะของผู้รับสาร ศึกษาผลย้อนกลับของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของ มสธ. และศึกษาสภาพแวดล้อมของการสื่อสาร


4. การบูรณาการความรู้จากหลายๆ ศาสตร์ เป็นการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ หรือการสื่อสารเป็นหลักและนำความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษานิเทศศาสตร์มาร่วมกันอธิบาย วิเคราะห์ วิพากษ์ ร่วมกับประเด็นการศึกษาทางนิเทศศาสตร์ เช่น นักศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและต้องการนำมาใช้กับการสื่อสารเพื่อการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ นักศึกษาจะต้องนำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการศึกษา เช่น จะต้องศึกษาด้าน


1. เทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ
2. เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ
3.หลักการโฆษณา
4. การบริหารการตลาด
5. การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
6. การยอมรับนวัตกรรม
7. ความต้องการใช้บริการของผู้บริโภค เทคโนโลยีการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ