วิธี การพิมพ์แบบนี้ จะทำแม่พิมพ์โดยการกัดแบบให้เป็นร่องลงไปในแม่พิมพ์ ส่วนที่เป็นผิวเรียบด้านหน้าใช้น้ำยาเคลือบผิว เพื่อกันหมึกไหลมาเกาะ เมื่อนำหมึกทางลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะลงไปขังในร่องที่กัดไว้ หลังจากนั้นนำกระดาษที่ต้องการพิมพ์วางทับบน แม่พิมพ์ หมึกก็จะติดออกมาตามต้องการ งานพิมพ์ประเภทนี้เป็นชนิดที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม ตัวพิมพ์จะนูนทั้ง ภาพลายเส้นและ ตัวหนังสือ นิยมใช้พิมพ์เอกสารสำคัญเพื่อป้องกันการปลอมแปลงหรือทำเลียนแบบ
แม่พิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Plate) การพิมพ์จะอาศัยหลักการทางเคมี คือ เมื่อจัดทำภาพบนแผ่นโลหะแบนแล้ว คุณสมบัติที่ต้องการคือ เมื่อทาหมึกลงบนแผ่นนั้นส่วนที่เป็นภาพจะดูดหมึกไว้ ส่วนที่ไม่มีภาพคือไม่ต้องการพิมพ์จะไม่ดูดหมึก เมื่อนำไปกดทับกระดาษหมึกก็จะติดบนกระดาษเป็นภาพที่ต้องการได้ การพิมพ์แบบนี้เป็นที่นิยมมากเรียกว่าระบบออฟเซท (Offset) เหมาะสำหรบการพิมพ์ตัวหนังสือและภาพหลายเส้น ลงบนแผ่นกระดาษ แผ่นโลหะ หรือผ้าก็ได้
การพิมพ์ออฟเซท (offset Printing)
การพิมพ์ออฟเซทเป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นแบนอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แม่พิมพ์ทำด้วยแผ่นโลหะอลูมิเนียม หรือเป็นแผ่นสังกะสี หรืออาจทำจากกระดาษ หรือเป็นแผ่นพลาสติกก็ได้ การเลือกใช้แผ่นแม่พิมพ์ชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนในการพิมพ์ แม่พิมพ์โลหะ สามารถพิมพ์ได้เป็นจำนวนมากเป็นหมื่น ๆ แผ่น (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 198) การพิมพ์แบบออฟเซทมีลักษณะที่พิเศษแตกต่าง จากวิธีการอื่น คือมีลูกโมทรงกระบอกอย่างน้อย 3 ลูก ทำหน้าที่ดังนี้
1. ลูกโมใช้หุ้มแผ่นแม่พิมพ์ อาจเป็นแผ่นโลหะหรือกระดาษก็ได้ เรียกว่า โมแม่พิมพ์ (Plate Cylinder) ลูกโมแม่พิมพ์ จะมีลักษณะกลมเหมือนท่อโลหะขนาดใหญ่ มีขอเกี่ยวแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลทให้ตรึงแน่นไม่เคลื่อนที่ติดกับ ลูกดม เพราะแผ่นเพลท จะต้องถูกับลูกกลิ้งหมึกและลูกกลิ้งน้ำอยู่ตลอดเวลา ถ้าเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อย ตำแหน่งของภาพจะ เคลื่อนไปจะมีปัญหากับการพิมพ์ สอดสีหรือการพิมพ์หลายเพลท
2. ทำหน้าที่รับภาพจากแผ่นแม่พิมพ์ เรียกว่าลูกโมยาง (Blanket Cylinder)
3. ทำหน้าที่กดกระดาษให้แนบกับลูกโมยาง เพื่อให้หมึกติดเป็นภาพลงบนกระดาษ (Impression cylinder)
การพิมพ์โดยแม่พิมพ์นูน (Relief Printing)
1. การฉลุด้วยมือ (Hand Cut Stencil)
2. การใช้วิธีการถ่ายภาพ (Photo Stencil)
3. การใช้เครื่องปรุไขอิเล็คโทรนิคส์
การพิมพ์ด้วยแสงโดยวิธีการถ่ายเอกสาร
ในปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ ด้านการติดต่องาน หรือทางด้านการศึกษา หลักการอย่างง่าย ๆ ในการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
1. แสงสว่างจากหลดไฟส่องไปกระทบกับต้นฉบับและสะท้อนภาพไปยัง Drum
2. เกิดไฟฟ้าสถิตบนผิว Drum บริเวณที่ไม่ได้รับแสงสะท้อนที่เป็นภาพ
3. ผงแม่เหล็กที่อยู่ในกล่องรวมกับผงหมึกถูกส่งออกมาเกาะที่ผิว Drum เฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ4. แผ่นกระดาษเคลื่อนที่ผ่าน
5. เกิดประจุที่มีกำลังสูงกว่า บนเส้นลวดใต้แผ่นกระดาษที่กำลังเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของกระดาษจะ สัมพันธ์กับ Drum
6. ผงเหล็กจะพาผงหมึกลงมาที่กระดาษ ที่จริงแล้วจะมาที่เส้นลวดแต่มีกระดาษ ขวางอยู่ผงจึงติดอยู่ บนกระดาษ ภาพจึงมาปรากฏบนกระดาษเพราะมีผงหมึกที่ถูกดูดลงมาตามลักษณะของภาพ
7. กระดาษที่มีภาพปรากฏ เคลื่อนที่ผ่านลูกกลิ้งความร้อนและอัดให้ผงหมึกละลายติดแน่นเป็นภาพที่คง ทนตามต้องการ
เครื่องพิมพ์ระบบการพิมพ์ด้วงแสงแบบถ่ายเอกสาร
ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการพิมพ์
การศึกษาในปัจจุบัน ผู้เรียนต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างน้อยควรเป็นขั้นพื้นฐาน การใช้งานส่วน มากเน้น ไปที่การพิมพ์รายงาน เพื่อให้ได้ผลงานการพิมพ์ที่คุณภาพดี เรามักใช้โปรแกรม Winword บน Windows สำหรับเครื่อง PC ใช้งานทั่วไป เนื่องจากมีแบบตัวอักษรที่สวยงามหลายรูปแบบ ผู้สนใจควรศึกษาโปรแกรมเหล่านั้นและ ฝึกหัดให้บ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน การที่จะใช้โปรแกรมอื่นก็ได้เพราะโปรแกรมกราฟฟิกจะมีส่วนของ การพิมพ์ตัวอักษรอยู่แล้ว ถ้าหากมีความรู้ทางด้านโปรแกรมราชวิธี (RW) หรือ จุฬา (CW) ก็ใช้งานได้เช่นเดียวกัน แต่ตัว เลือกที่จะใช้อักษรแบบต่าง ๆ มีน้อย แต่ก็ใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อน อุปกรณ์ประกอบที่สำคัญคือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ร่วมกับ คอมพิวเตอร์นั่งเอง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
เครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix
เป็นเครื่องพิมพ์ใช้ระบบการกระแทก โดยใช้หัวเข็มขนาดเล็กซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดคือถ้าเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กจะมี 9 หัวเข็ม และขนาดใหญ่ที่มีความละเอียดสูงจะมี 24 หัวเข็ม การทำงานเป็นไปตามคำสั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ หัวเข้มจะ กระแทกผ่านผ้าหมึกพิมพ์เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ดีด ตัวอักษรก็จะไปติดบนกระดาษ และฉบับที่พิมพ์นี้ไปทำสำเนา จำนวน มากด้วยเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลหรือถ่ายเอกสารได้เลย แต่ถ้าหากจะนำไปพิมพ์สำเนาในระบบโรเนียวให้พิมพ์ลงบน กระดาษ ไขโดยนำผ้าพิมพ์ออก และให้หัวเข็มกระแทกเจาะลงบนกระดาษไขเช่นเดียวกับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดเครื่องพิมพ์ ประเภทนี้มีความจำเป็นในการพิมพ์ที่ต้องสำเนาด้วยคาร์บอน 2 - 3 ชั้น เช่นการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
เครื่องพิมพ์แบบ Inkjet
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานตามคำสั่งของคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการพ่นหมึกโดยตรงลงบนกระดาษโดยหัวพิมพ์ จะ บรรจุหมึกเป็นแบบ Ink Cartridgeการพ่นหมึกออกมานี้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้ความร้อน (heating/cooling (thermal) inkjet method) ซึ่งใช้อยู่ในเครื่อง Canon , HP และ lenmark ส่วนแบบที่ 2 เป็นแบบ mechanical method เครื่อง Epson ใช้ระบบนี้ การพิมพ์ระบบอิงค์เจ็ตในปัจจุบันได้คุรภาพที่ดีมากทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับคุณภาพของกระดาษ ที่นำมาใช้พิมพ์ เนื่องจากหมึกพิมพ์จำเป็นต้องการกระดาษที่ซึมซับหมึกได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นจะให้เลอะได้ง่ายอีก ประการหนึ่งจำเป็น ต้องปรับไดรแอร์ให้เหมาะสมกับการพิมพื เพราะถ้าหากเครื่องพิมพ์ทำงานผิดพลาดตัวอักษรหรือรูปภาพ จะเกิดอาการสั่นหรือ ภาพส่ายเป็นคลื่น ความเร็วในการพิมพ์จะประมาณ 1 - 2 แผ่นต่อนาที การใช้เครื่องพิมพ์ประเภทนี้จึง เหมาะกับการทำต้นฉบับ จำนวนน้อย และนำไปสำเนาด้วยเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลหรือนำไปถ่าย ทำเพลทออฟเวทได้โดยตรง
เครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก (InkJet)
เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เป็นการทำงานโดยใช้ Photo sensitive drum ในการทำงานเพื่อให้เกิดรูปภาพหรือ ตัวอักษร ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับเครื่องถ่ายเอกสารมาก จะแตกต่างกันตรงที่ข้อมูลของเครื่องถ่ายเอกสารจะ เป็น แผ่นภาพหรือตัวอักษรที่ต้องการทำสำเนาลงบนกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง ให้เหมือนกับต้นฉบับเดิม ส่วนการพิมพ์ด้วยเลเซอร์ เป็น การถ่ายโอนข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อต้องการพิมพ์โปรแกรมการพิมพ์ก็จะส่งข้อมูลไปยัง เครื่องโดยใช้ Page Description Language เครื่องพิมพ์ก็จะประมวลผลทีละหน้าและเก็บไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง พิมพ์ หลังจากนั้นจะเกิดการ Modulation ทำให้ลำแสงสะท้อนผ่านกระจกเงาที่กำลังหมุนสัมพันธ์กับดรัมที่เคลือบด้วยวัสดุ ไวแสงหมุนไปพร้อม ๆ กัน แสงเลเซอร์จะกวาดไปบนสแกนไลน์ (Scan Line) ทำให้เกิดจุดไฟฟ้าสถิตเล็ก ๆ ขึ้นบนผิวดรัม ในขณะเดียวกันดรัมก็จะดูดเอาโทนเนอร์ที่มีประจุไฟฟ้าอย่ติดขึ้นมาตามคำสั่งภาพหรืออักษรนั้น เมื่อกระดาษผ่านเข้ามาก็จะดูด เอาผงหมึกลงมาเกาะติดและผ่านกระบวนการความร้อนเพื่อให้เกิดการหลอมละลายติดบนกระดาษ
ผลของการพิมพ์ที่ได้ สามารพนำไปเป็นต้นฉบับได้เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจต การพิมพ์ด้วยเครื่อง เลเซอร์จะมี ความเร็วสูงกว่าอิงค์เจตมาก โดยประมาณ 4-20 แผ่นต่อนาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารพของเครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์
อ้างอิง : เรืองวิทย์ นนทะภาและคณะ. เอกสารการสอนวิชาสื่อและเทคโนโลยีการสอน. กรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น