วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตัวอย่างการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์

การโฆษณาทางโทรทัศน์ มีดังนี้

การโฆษณาสด เป็นลักษณะของการถ่ายทอดสดโดยกระทำภายในห้องส่งของสถานีหรือถ่ายทอดนอกสถานีก็ได้ ผู้โฆษณาจะจัดสถานที่ จัดวางสินค้าให้สวยงามแล้วให้พิธีกรแนะนำสินค้า อาจมีการสาธิตร่วมด้วย

การซ้อนตัวอักษร เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะทางสถานีจะมีเครื่องมือสร้างตัวอักษรซ้อนไปกับภาพที่ออกอากาศในรายการพร้อมๆ กันไปผู้โฆษณาไม่นิยมใช้วิธีนี้ เพราะผู้ชมโทรทัศน์มักสนใจอยู่ที่ตัวรายการ ไม่ค่อยได้ดูข้อความโฆษณาที่ซ้อนไว้ตอนล่างของภาพแต่บางครั้งหากใช้เทคนิคดีๆ สร้างตัวอักษรซ้อนภาพให้น่าสนใจ อาจดึงผู้ชมมาอ่านโฆษณาก็ได

การฉายภาพสไลด์หรือภาพนิ่ง โดยเปิดเทปบันทึกเสียงไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันวิธีนี้ยังมีให้เป็นอยู่บ้างแต่จะพบนานๆ ครั้งเพราะดูไม่เร้าใจ ภาพมักดูแห้งๆ ขาดเสน่ห์ของความเป็นโทรทัศน์ ใช้ภาพยนตร์โฆษณาเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยระยะแรกจะออกอากาศแบบเต็มเรื่อง (Full Story) ซึ่งนิยมใช้ความยาว 60 วินาที หลังจากที่ภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ชมทางบ้านเริ่มจำโฆษณาได้แล้ว ก็จะตัดต่อโฆษณาใหม่ ให้สั้นลงเหลือเพียง 30 วินาทีและ 20 วินาทีตามลำดับ ทั้งนี้เพราะอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์แพงมาก

การซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ลักษณะการซื้อขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์จะใช้หน่วยการซื้อขายที่เรียกว่า Spot ความยาวของ Spot โฆษณาแต่ละชิ้นอาจมีตั้งแต่ 15 นาที 20 วินาที 30 วินาที 45 วินาที 1 นาที จนกระทั่งถึง 2 นาที แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มักมีความยาว 20 วินาที สำหรับประเภทของ Spot โฆษณาที่ซื้อขายกันทางโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

Loose Spot คือ Spot โฆษณาที่จะออกอากาศระหว่างช่วงต่อของรายการกล่าวคือ เมื่อรายการหนึ่งจบลง และก่อนจะขึ้นรายการต่อไป จะมีการโฆษณาเข้ามาแทรก เรียกโฆษณาในช่วงนี้ว่า Loose Spot

In Program spot คือ Spot โฆษณาที่ออกอากาศอยู่ในรายการใดรายการหนึ่ง กล่าวคือ ในแต่ละรายการที่ออกอากาศทางโทรทัศน์นั้น มักจะมีการหยุดเป็นช่วงๆ ในระหว่างออกอากาศเพื่อโฆษณาสินค้า อาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว การโฆษณาในช่วงนี้เรียกว่า In Program spot ซึ่งเจ้าของสินค้าอาจเหมาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงรายการเดียว หรือจะเฉลี่ยเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ ร่วมกับเจ้าของสินค้ารายการอื่นๆ ก็ได้ โดยปกติอัตราค่าโฆษณาสำหรับ In Program spot จะแพงกว่า Loose Spot ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันเสมอ ทั้งนี้เพราะมีโอกาสถูกพบเห็นได้มากกว่า Loose Spot ซึ่งผู้ชมอาจเปลี่ยนช่องหรือหันไปทำกิจกรรมอื่นเมื่อรายการจบลง

การคิดอัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งจะคิดอัตราค่าโฆษณาเป็น Spot ความยาว 1 นาที ต่อการโฆษณา 1 ครั้ง เป็นมาตรฐานไว้ เช่น สมมติว่าคิด Spot ละ 300,000 บาท และผู้โฆษณาต้องการออกอากาศโฆษณาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทางสถานีเป็นเงิน = 150,000 บาท x 3 ครั้ง = 450,000 บาท (อัตราค่าโฆษณา Spot ละ 300,000 บาท ที่ทางสถานีกำหนดไว้ความยาวครั้งละ 30 วินาทีเท่านั้น จึงเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวในแต่ละครั้ง คือ 150,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง)

อัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ของแต่ละสถานีจะต้องไว้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนและความนิยมของผู้ชมรายการ และช่วงเวลาที่ออกอากาศ โดยปกติช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด (A-time) จะมีอัตราค่าโฆษณาแพงกว่าช่วงเวลาอื่นๆ จากการสำรวจจำนวนผู้ชมโทรทัศน์ในประเทศไทยพบว่า เวลาที่มีคนดูมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 20.30-22.00 ซึ่งเป็นช่วงรายการละครไทยเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ ช่วง 19.30-20.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเสนอข่าวประจำวัน

ช่วงเวลาที่มีผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดนั้นมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปตามความถนัด คือ บางครั้งเรียกว่า A-time หรือ Peak timeแต่ที่นิยมเรียกกันมากที่สุดคือ Prime Time

ตัวอย่างโฆษณาผ่างทางโทรทัศน์

ไม่มีความคิดเห็น: