วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์ของไทย

การเรียนการสอนทางนิเทศศาสตร์ของไทย



โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์

คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


การเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทยมีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยมีวิชาเอกอยู่ 4 สาขาวิชาคือ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และวารสารศาสตร์ จำนวนนักศึกษาที่จะเข้าเรียนในคณะนิเทศศาสตร์มีมากขึ้นทุกปี ทั้งในระดับบัณฑิตศึกษาและมหาบัณฑิต ในระดับมหาบัณฑิตสาขาที่กำลังเป็นที่นิยมและเหมากับยุคสมัยได้แก่ การสื่อสารธุรกิจ และนิเทศศาสตร์การตลาด


หลักสูตรนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีในแต่ละมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องจำนวนของหน่วยกิต แต่มีความแตกต่างกันด้านการจัดการไปตามหมวดวิชาและวิชาพื้นฐาน


ขอบเขตของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ครอบคลุมถึงความรู้ทั่วไป และประเด็นรอบตัวที่สำคัญ เนื่องจากสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้รับสารจำนวนมาก หลักสูตรนิเทศศาสตร์จึงต้องศึกษาทั้งในเรื่องรอบๆ ตัว และเนื้อหาวิชาต่างๆ ในเชิงลึก แทนที่จะศึกษาเฉพาะเจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
สถาบันการศึกษา ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่ดำเนินการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์ มีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน คือ


1. มหาวิทยาลัยของรัฐ มีการเปิดสอนทางด้านการสื่อสารมวลชนโดยตรง โดยการเปิดคณะวิชาทางด้านนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ ได้แก่


(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th/

(2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th/

(3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.ru.ac.th/

(4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.cmu.ac.th/

(5) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.ku.ac.th/

(6) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://www.stou.ac.th/

(7) มหาวิทยาลัยบูรพา http://www.buu.ac.th/

(8) มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.nu.ac.th/


2. มหาวิทยาลัยภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเพียงแห่งเดียวที่จัดอยู่ในสถาบันการศึกษาประเภทนี้ โดยมีการเปิดสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ


3. มหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเน้นไปในด้านนิเทศศาสตร์ธุรกิจหรือนิเทศศาสตร์การตลาด ได้แก่


(1) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://www.bu.ac.th/

(2) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต http://www.kbu.ac.th/

(3) มหาวิทยาลัยคริสเตียน http://www.christian.ac.th/

(4) วิทยาลัยทองสุข
(5) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ http://www.dpu.ac.th/

(6) มหาวิทยาลัยนอร์ท อีสเทิร์น
(7) มหาวิทยาลัยรังสิต http://www.rsu.ac.th/

(8) มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th/

(9) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย http://www.utcc.ac.th/

(10) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย http://www.eau.ac.th/

(11) มหาวิทยาลัยเกริก http://www.krirk.ac.th/

(12) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น http://www.stjohn.ac.th/

(13) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร http://www.mut.ac.th/

(14) มหาวิทยาลัยพายัพ http://www.payap.ac.th/

(15) มหาวิทยาลัยโยนก http://www.yonok.ac.th/

(16) มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล http://www.vu.ac.th/

(17) มหาวิทยาลัยสยาม http://www.siamu.ac.th/

(18) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://www.au.ac.th/


4. สถาบันการศึกษาซึ่งดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาในชนบทและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน สถาบันการศึกษาในกลุ่มนี้ คือ สถาบันราชภัฏ 22 แห่ง (แยกจากที่มีอยู่ 36 แห่งทั่วประเทศ)


(1) สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ http://www.cmri.ac.th/

(2) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ http://www.rink.ac.th/

(3) สถาบันราชภัฏอุดรธานี http://www.riudon.ac.th/

(4) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา http://www.rin.ac.th/

(5) สถาบันราชภัฏเทพสตรี http://www.rits.ac.th/

(6) สถาบันราชภัฏราชนครินทร์ http://www.rirc.ac.th/

(7) สถาบันราชภัฏเพชรบุรี http://www.rajabhat.edu/

(8) สถาบันราชภัฏนครปฐม http://www.rinp.ac.th/

(9) สถาบันราชภัฏยะลา http://www.riy.ac.th/

(10) สถาบันราชภัฏพระนคร http://www.ripn.ac.th/

(11) สถาบันราชภัฏจันทรเกษม http://www.chandra.ac.th/

(12) สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ http://www.riu.ac.th/

(13) สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ http://www.ripb.ac.th/

(14) สถาบันราชภัฏมหาสารคาม http://www.rimhk.ac.th/

(15) สถาบันราชภัฏอยุธยา http://www.ripa.ac.th/

(16) สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ http://www.ripw.ac.th/

(17) สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี http://www.rb.ac.th/

(18) สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง http://www.rimc.ac.th/

(19) สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี http://www.risurat.ac.th/

(20) สถาบันราชภัฏสงขลา http://www.riska.ac.th/

(21) สถาบันราชภัฏสวนดุสิต http://www.dusit.ac.th/

(22) สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา http://www.riss.ac.th/


สาขาวิชาทางนิเทศศาสตร์
ปัจจุบัน การเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์ มีอยู่ 10 สาขาวิชาด้วยกัน คือ


1. การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเปิดสอนในหลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิตทุกสถาบัน ยกเว้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


2. การหนังสือพิมพ์และวารสารศาสตร์ เปิดสอนในสถาบันการศึกษา 13 แห่งด้วยกัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล และมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนอีก 5 สถาบันซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมด ได้ดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาวารสารศาสตร์โดยตรง คือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสถาบันราชภัฏซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ


3. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เปิดสอนอยู่ 11 สถาบันด้วยกัน แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเอกชน 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รวมทั้งสถาบันราชภัฏด้วย


4. การถ่ายและฉายภาพยนตร์ การภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยรังสิต และสถาบันราชภัฏ


5. การสื่อสารมวลชน เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง


6. การจัดการสารสนเทศ เปิดสอนโดย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


7. นิเทศศาสตร์ธุรกิจ การจัดการการสื่อสาร และการสื่อสารการตลาด เปิดสอนโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยธุรกิจธุรกิจบัณฑิตย์


8. การละคร เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตย์


9. วาทนิเทศ เปิดสอนโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


10. ทัศนศาสตร์ เปิดสอนโดย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ


โดยสรุป สามารถจำแนกจำนวนสถาบันตามสาขาวิชาของคณะนิเทศศาสตร์ ได้ดังนี้


1. การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ มีการเปิดสอนอยู่ 22 แห่ง

2. การหนังสือพิมพ์และวารสารศาสตร์ มีการเปิดสอนอยู่ 13 แห่ง

3. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีการเปิดสอนอยู่ 11 แห่ง

4. การสื่อสารมวลชน มีการเปิดสอนอยู่ 7 แห่ง

5. การภาพยนตร์ การถ่ายภาพ วีดีทัศน์ มีการเปิดสอนอยู่ 6 แห่ง

6. การจัดการสารสนเทศ มีการเปิดสอนอยู่ 3 แห่ง

7. นิเทศศาสตร์ธุรกิจ การจัดการการสื่อสาร มีการเปิดสอนอยู่ 3 แห่ง

8. การละคร มีการเปิดสอนอยู่ 2 แห่ง

9. วาทนิเทศ มีการเปิดสอนอยู่ 1 แห่ง

10. ทัศนศาสตร์ มีการเปิดสอนอยู่ 1 แห่ง


จากข้อมูลข้างต้น จะพบว่าสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เป็นที่นิยม มากที่สุดและมีการขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการเปิดสอนในระดับปริญญาทางนิเทศศาสตร์เกือบทุกสถาบัน อันดับที่สอง สาม และสี่ คือ สาขาวิชาการหนังสือพิมพ์และวารสารศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และการสื่อสารมวลชน

ไม่มีความคิดเห็น: