ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย
ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญที่สามารถแบ่งได้ตามทศวรรษต่างๆ ดังนี้
ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี
ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง
ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี
ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง
ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519)
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่
- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศใน
ระบบสี
- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง
5 โดยออกอากาศในระบบสี
ทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน
ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521)
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน
ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549)
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน
1 ความคิดเห็น:
มีความรู้ดีครับ
สารานุกรม
แสดงความคิดเห็น